กลยุทธ์ ETF ที่นักลงทุนไม่ควรพลาด




ETF ย่อมาจาก Exchange Traded Fund คือ กองทุนรวมดัชนี ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่ชื่นชอบการลงทุนสไตล์ Passive Investing เนื่องจาก ETF มีลักษณะคล้ายกับกองทุนรวมดัชนี Index Fund ซึ่งมีนโยบายการลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนให้ออกมาใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวของดัชนีมากที่สุด แต่ถึง ETF จะได้ชื่อว่าเป็นกองทุน แต่ความพิเศษแตกต่างกับกองทุนรวมทั่วๆ ไป คือ สามารถซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ หรือสามารถซื้อขายแบบ Real Time ได้ มาดูกันดีกว่านอกจากความพิเศษแล้ว วันนี้มีกลยุทธ์เด็ดที่จะมาแนะนำสำหรับนักลงทุนที่กำลังสนใจจะลงทุนในกองทุน ETF 

1. ETF ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องมือกระจายความเสี่ยงต้นทุนต่ำ 

เนื่องจากมีนโนบายการลงทุนที่คาดหวังให้มีผลตอบแทนออกมาให้ใกล้เคียงดัชนีอ้างอิงมากที่สุด ตัวอย่างเช่น หากเรามีความคิดที่จะลงทุนใน กองทุนกลุ่มเทคโนโลยี แต่ไม่รู้จะลงตัวไหน ETF สามารถให้เราเลือกได้ภายในกลุ่ม S&P500 เพียงกองเดียว และจะกระจายการลงทุนให้ทุกตัวในกลุ่มเทคโนโลยี ด้วยเงินลงทุนที่ไม่สูงมาก พร้อมช่วยลดความเสี่ยงจากการเลือกหุ้นผิดตัวได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

2. ETF เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการลงทุนแบบ DCA 

นอกจากวิธี DCA ที่ยังช่วยฝึกวินัยในการลงทุนแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเติบโตของสินทรัพย์ ETF คือสินทรัพย์ที่ไม่มีวันล้มละลาย ฉะนั้นมูลค่าจะไม่มีวันหายไป เพราะจะมีการกระจายตัวของสินทรัพย์ ดังนั้น ETF จึงเหมาะกับการลงทุนระยะยาวด้วยวิธีการ DCA นั่นเอง

3. ดู Tracking Error เพิ่มผลลัพธ์

เนื่องจาก ETF มีความเป็นกองทุนรวมดัชนี Index Fund เราจึงจำเป็นต้องดู Tracking Error ด้วย เพราะ Tracking Error จะเป็นตัวเลขที่บอกว่า ETF กองนี้สร้างผลตอบแทนได้ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงมากน้อยเพียงใด หาก ETF ตัวนั้นมีค่า Tracking Error มาก แสดงว่าผลตอบแทนของ ETF กองนั้น มีความเบี่ยงเบนไปจากดัชนีอ้างอิงมาก ในทางกลับกันหากมีค่า Tracking Error น้อยก็แสดงว่าว่าผลตอบแทนของ ETF กองนั้นมีความเบี่ยงเบนไปจากดัชนีอ้างอิงน้อย โดยเราสามารถดูค่า Tracking Error ได้จากหนังสือชี้ชวน

4. ใช้ ETF จัดพอร์ตแบบ Asset Allocation

การจัดสรรเงินลงทุน โดยกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ หลายประเภทเพื่อกระจายความเสี่ยง โดยกำหนดสัดส่วนการลงทุนให้สอดคล้องกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของนักลงทุน และระยะเวลาที่ต้องการ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น สัดส่วนของพอร์ต 100% ที่เราเลือกมาทำ Asset Allocation ประกอบไปด้วย หุ้นไทย 50% หุ้นต่างประเทศ 35% และสินทรัพย์ทางเลือกอีก 15% และอีกส่วนที่สำคัญในการจัดพอร์ต อีกวิธีคือการทำ Portfolio Rebalancing หรือการปรับสัดส่วนของสินทรัพย์หลักที่เราวางแผนไว้ในระยะยาว 

ทั้งนี้ การทำ Portfolio Rebalancing สามารถเลือกทำได้ 3 วิธี คือ

• การกำหนดเวลา เช่น ทุก 6 เดือน หรือ ทุก 1 ปี
• การกำหนดสัดส่วน เช่น กำหนดสัดส่วนเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 10%
• การรับสัดส่วนของสินทรัพย์เสี่ยงให้ลดลง 

5. ลงทุนเพื่อสร้างเงินปันผล 

แม้ไม่มีเวลาติดตาม แต่ผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่งที่เราได้จากการลงทุน ETF เพื่อรับเงินปันผลก็คือ เราไม่จำเป็นต้องติดตามตลาดว่าหุ้นตัวไหนปันผลดี หรือปันผลไม่ดี เพราะนอกจาก ETF ประเภทนี้ จะเน้นลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของ SETHD แล้ว ยังรวมไปถึงหุ้นที่อยู่ระหว่างการเข้าหรือออกจากการเป็นหลักทรัพย์ที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SETHD อีก โดยในแต่ละกองทุนของ ETF จะมีนโยบายพิจารณาจ่าย หรือไม่จ่ายเงินปันผล ดังนั้น นักลงทุนจึงต้องศึกษาข้อกำหนดและเงื่อนไขให้ดีก่อนลงทุน

อ้างอิง SET