รายงานหน่วยงานกำกับดูแลอิสระ


          รายงานผลการดำเนินการติดตามดูแลการจัดการกองทุน ประจำปี 2567

ส่วนที่ 1 : วัตถุประสงค์

เพื่อให้เป็นไปตามข้อ 25/1-25/3 ของประกาศของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน 2556 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2563 และมาตรา 124/1 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 2535  ซึ่งกำหนดให้บริษัทซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่บริหารจัดการเงินลงทุนให้ผู้ลงทุน จัดการกองทุนรวมด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และมีหน้าที่ติดตามดูแลการจัดการกองทุนรวมในเรื่องดังนี้  

(1) การกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 

(2) การกระทำที่อาจมีลักษณะไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุน 

(3) การกระทำที่อาจทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียประโยชน์อันพึงได้รับ

ส่วนที่ 2 : แนวทางการติดตามดูแลการจัดการกองทุนรวมประจำปี 2567

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด (“บริษัท”) ได้จัดทำแนวทางในการดำเนินการเพื่อใช้ในการติดตามดูแลการจัดการกองทุนรวม ประจำปี 2567 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 โดยแนวทางนั้นมีความเหมาะสมกับการติดตามการปฏิบัติงานในปัจจุบันและสอดคล้องกับแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สำนักงาน ก.ล.ต.”) ประกาศกำหนดไว้ดังนี้
1.  กำหนดขอบเขตของการติดตามดูแลให้ครอบคลุมตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดไว้ ได้แก่
        1.1  การซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนและตราสารทางการเงินกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
1.2  การซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนและตราสารทางการเงินที่ไม่มีราคาตลาดหรือที่ไม่มีสภาพคล่อง
        1.3  วิธีการบริหารจัดการกองทุนรวม
        1.4  การคัดเลือกและติดตามการให้บริการของผู้ให้บริการ
        1.5  การส่งคำสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนและตราสารทางการเงิน
        1.6  การเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายจากกองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุน
        1.7  การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์
2.  กำหนดให้ฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงานเป็นผู้ดำเนินการในการติดตามดูแลให้เป็นไปตามขอบเขต
ที่กำหนดไว้ตามข้อ 1
3.  กำหนดให้ฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงาน (“ฝ่ายกำกับฯ”) เป็นผู้รายงานผลการดำเนินการและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปีเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัท พร้อมนำส่งสำนักงาน ก.ล.ต. ภายใน 2 เดือนนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน  ทั้งนี้ ในกรณีที่พบการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการกระทำที่อาจมีลักษณะไม่เป็นธรรมหรืออาจทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียประโยชน์อันพึงได้รับ ให้รายงานต่อคณะกรรมการบริษัทและสำนักงาน ก.ล.ต. ภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงการกระทำดังกล่าว นอกจากนี้ ให้เปิดเผยข้อมูลผลการติดตามดูแลการจัดการกองทุนรวมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

ส่วนที่ 3 : รายงานการติดตามดูแลการจัดการกองทุนรวม ประจำปี 2567

เรื่องที่ตรวจสอบ ผลการติดตามดูแลการจัดการกองทุนรวม การปฏิบัติงานที่อาจเข้าข่ายฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด และแนวทางแก้ไข ข้อเสนอแนะ หรือข้อสังเกตอื่น ๆ
1. การซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนและตราสารทางการเงินกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ไม่มีการทำธุรกรรมซื้อขายผลิตภัณฑ์ ในตลาดทุนและตราสารทางการเงินกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง - -
2. การซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนและตราสาร ทางการเงินที่ไม่มีราคาตลาดหรือที่ไม่มีสภาพคล่อง ไม่พบข้อสังเกตใด หรือที่อาจเข้าข่ายเป็นการปฏิบัติงานที่ฝ่าฝืน กฎเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้อง - -
3. วิธีการบริหารจัดการ กองทุนรวม บริษัทมีการติดตามนโยบายการลงทุนของกองทุนให้เป็นไปตามที่เปิดเผยต่อ ผู้ถือหน่วยลงทุนและผู้สนใจลงทุนทั่วไป - -
4. การคัดเลือกและติดตาม การให้บริการของผู้ให้บริการ บริษัทมีเกณฑ์ภายในที่ใช้ในการคัดเลือกผู้ให้บริการ รวมถึงมีการประเมินและสรุปผลการคัดเลือกผู้ให้บริการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด - -
5. การส่งคำสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนและตราสารทางการเงิน บริษัทมีเกณฑ์ในการคัดเลือกและการให้คะแนนอย่างชัดเจนและเหมาะสม ซึ่งสัดส่วนการส่งคำสั่งและปริมาณ การซื้อขายหลักทรัพย์กับคู่ค้าเป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการการลงทุน (Investment Committee) - -
6. การเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายจากกองทุนรวม หรือผู้ถือหน่วยลงทุน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ให้บริการระบบนายทะเบียน ได้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจัดทำและส่งเอกสารให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนสูงผิดปกติ โดยมีการระบุจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนมากกว่า ความเป็นจริง ส่งผลให้การตั้งค่าใช้จ่ายตัดจ่ายล่วงหน้าสำหรับรายการดังกล่าวไม่ถูกต้อง ทำให้เกิด Incorrect Pricing

กองทุน X-SEQS-RA และ X-SEQS-DSSF มีการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) มูลค่าหน่วยลงทุน 
ราคาหน่วยลงทุนของกองทุน และราคาสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนของกองทุนไม่ถูกต้อง (Incorrect Pricing) ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1 สตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหรือราคา
หน่วยลงทุนที่ถูกต้อง ระหว่างวันที่ 3 - 9 กรกฎาคม 2567

การดำเนินการแก้ไข

- เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 บริษัทได้ระงับการทำธุรกรรมซื้อ และ/หรือ สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเข้าชั่วคราวโดยได้ประกาศบนหน้าเว็บไซต์ของบริษัท และนำส่งประกาศดังกล่าวให้แก่ตัวแทนสนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (Selling Agent) เพื่อดำเนินการแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังให้ถูกต้อง

- บริษัทได้ประสานกับผู้ดูแลผลประโยชน์เพื่อตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของมูลค่าหรือราคา
หน่วยลงทุนที่แก้ไข โดยบริษัทได้แก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนให้แล้วเสร็จตามที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองแล้ว ประกาศบนหน้าเว็บไซต์ของบริษัท

- บริษัทดำเนินการชดเชยราคาให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับผลกระทบจำนวน 1 ราย ซึ่งได้ทำธุรกรรมซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนชนิด X-SEQS-DSSF ในระหว่างที่เกิด Incorrect Pricing แบบมีนัยสำคัญข้างต้น ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยที่ถูกต้อง โดยลด
หน่วยลงทุนเนื่องจากเป็นกรณีราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องน้อยกว่าราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง ประกอบกับเป็นกรณีที่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนมีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ในกองทุนรวม

- หลังจากแก้ไขมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนให้ถูกต้องและชดเชยราคาแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนแล้วเสร็จ 
บริษัทจัดการได้ประกาศยกเลิกการระงับการทำธุรกรรมซื้อ และ/หรือ สับเปลี่ยนเข้ากองทุนชนิด 
X-SEQS-RA และกองทุนชนิด X-SEQS-DSSF บนหน้าเว็บไซต์ของบริษัท และนำส่งประกาศให้แก่ตัวแทนสนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน

- จากนั้นบริษัทได้รับคำสั่งซื้อ และ/หรือ สับเปลี่ยนเข้ากองทุนชนิด X-SEQS-RA และกองทุนชนิด 
X-SEQS-DSSF ตามปกติ

- บริษัทได้นำส่งหนังสือ เรื่อง แจ้งเปลี่ยนแปลงหนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุน / ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี กรณีกองทุนเปิดเอ็กซ์สปริง หุ้นไทยยั่งยืนซิสเทมาติก ชนิดผู้ลงทุนเพื่อการออม (แบบจ่ายเงินปันผล) (X-SEQS-DSSF) ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับผลกระทบทางไปรษณีย์ เพื่อชี้แจงการแก้ไข Incorrect Pricing แบบมีนัยสำคัญของกองทุนชนิด X-SEQS-RA และกองทุนชนิด X-SEQS-DSSF รวมทั้งการชดเชยราคาแก้ผู้ถือหน่วยลงทุน

- อีกทั้ง บริษัทได้นำส่งหนังสือ เรื่อง ชี้แจงกรณีมูลค่าหน่วยลงทุนหรือราคาหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดเอ็กซ์สปริง หุ้นไทยยั่งยืนซิสเทมาติก (X-SEQS) มีมูลค่าเกินกว่า 1 สตางค์ และเกินกว่าร้อยละ 0.5 
ของมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ไปยังสำนักงาน ก.ล.ต.

- ฝ่ายกำกับฯ ได้แจ้งฝ่ายปฏิบัติการกองทุนให้ส่งอีเมลเพื่อแจ้งกำชับกับนายทะเบียนให้ตรวจสอบและสอบทานความถูกต้อง
ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการจัดทำและจัดส่งเอกสารต่าง ๆ ของ
กองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการ รวมทั้งมีมาตรการที่รัดกุม
ในการจัดทำค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้ถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ

- ฝ่ายกำกับฯ ได้กำชับฝ่ายปฏิบัติการกองทุน ให้เพิ่มพนักงานผู้รับผิดชอบของบริษัทจัดการให้เป็นผู้ตรวจสอบและ
สอบทานความถูกต้องของข้อมูล (Check & Balance) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการจัดส่งเอกสารจากนายทะเบียนก่อนนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ที่รับผิดชอบ
ในการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) 

- อีกทั้ง ฝ่ายกำกับฯ กำชับบุคลากรและ
ฝ่ายงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความ
ระมัดและรอบคอบในการปฏิบัติงาน
ครั้งต่อไป  

- ฝ่ายปฏิบัติการกองทุนได้จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงาน และส่งอีเมลกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้เจ้าที่หน้าที่ปฏิบัติงาน
ในฝ่ายตนทราบและถือปฏิบัติ

7. การใช้สิทธิออกเสียงใน ที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ บริษัทมีแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงที่ชัดเจน โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของกองทุนและผู้ถือหน่วย อีกทั้ง มีการเปิดเผยแนวทางและผลการไปใช้สิทธิออกเสียงไว้อย่างถูกต้องและครบถ้วน - -