Daily Focus
- ปัจจัยจำกัดการขยายตัวของ P/E Valuation หุ้นสหรัฐ (Multiple Expansion) คือการที่เศรษฐกิจยังแข็งแกร่งจนตลาด Priced-In ว่าเฟดอาจจะลดดอกเบี้ยน้อยกว่า 3 ครั้ง/เริ่มลดดอกเบี้ยช้ากว่าที่คาด ด้าน VIX Index ย่อตัวลง -1.92% ปิดที่ 14.32 โดย US 10Y Yield รักษาระดับที่ 4.357% ลดแรงกดดันหลังหุ้นสหรัฐอ่อนตัวลงก่อนหน้านี้ โดย VIX ปิดต่ำกว่าเส้น 200 DMA ลงมา (ราคายืนเหนือเส้นดังกล่าวไม่ได้) ลดแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยง อย่างไรก็ตามการจ้างงานภาคเอกชนเพิ่มขึ้นกว่าคาดมากในเดือน มี.ค.ที่ 184,000 ตำแหน่ง (Exp. 148,000) ในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ISM ภาคบริการขยายตัวน้อยกว่าคาดสะท้อนโมเมนตัมเศรษฐกิจภาคบริการชะลอความร้อนแรงลง ซึ่งสวนทางกับเศรษฐกิจภาคการผลิต XAM มองหุ้น Cyclical จะทนทานต่อยีลด์เร่งตัวมากกว่า Growth Stock โดย XAM มองหุ้น Financial จะแข็งแกร่งต่อเนื่องบนเศรษฐกิจที่แข็งแรง ในขณะที่คณะกรรมการเฟดบางท่านเริ่ม Less Dovish (Tactical-Play US/Neutral US)
- โอเปกพลัสยังคงปรับลดกำลังการผลิต 2.2 ล้านบาร์เรล/วัน ตามความสมัครใจของสมาชิก โดยซาอุดีอาระเบียลดกำลังผลิต 1 ล้านบาร์เรล/วัน และจะจัดการประชุมเรื่องลดกำลังการผลิตครั้งหน้าในวันที่ 1 มิ.ย. 24 ในขณะที่สต๊อกน้ำมันดิบ EIA นับถึงวันที่ 29 มี.ค. ออกมามากกว่าคาดที่ 3.2 ล้านบาร์เรลจากที่คาดว่าสต๊อกจะลดลง ซึ่งยังเป็นปัจจัยจำกัด Upside ในระยะสั้น จนกว่าความตึงตัวทางการเมืองในชาติผู้ผลิตน้ำมัน/ขนส่งน้ำมันจะเร่งตัวเพิ่มขึ้น (Global Value Outperformed Global Growth)
- หุ้นยุโรป Outperformed สหรัฐต่อเนื่องหลังเงินเฟ้อต่ำคาด อัตราการว่างงานมากกว่าคาดเล็กน้อย โดยเงินเฟ้อ Core CPI เดือน มี.ค. เทียบรายปีออกมาที่ 2.9% (Exp. 3%) ด้าน CPI รายปีอยู่ที่ 2.4% (Exp. 2.6%) โดยอัตราการว่างงานเดือน ก.พ. มากกว่าคาดที่ 6.5% (Exp. 6.4%) ซึ่งทั้งเงินเฟ้อที่ต่ำคาดและอัตราการว่างงานที่มากกว่าคาดทำให้ความคาดหวังการปรับลดดอกเบี้ยของ ECB และธนาคารกลางในยุโรปดูชัดเจนกว่า FED รวมถึงมีโอกาสเริ่มลดดอกเบี้ยเร็วกว่า ซึ่งความคาดหวังด้านนโยบายการเงินเป็นตัวขับเคลื่อน PE Multiple Expansion ของหุ้นยุโรป XAM มอง Stoxx 600, Stoxx 200 Small-Cap & Dax Index จะให้ Risk/Reward ที่ดีกว่าหุ้น Developed Market ประเทศอื่นๆ (Slightly Overweight)
- Foreign Outflow ออกจากหุ้นญี่ปุ่น -0.44 ล้านล้านเยนและออกจากตราสารหนี้ญี่ปุ่น -1.66 ล้านล้านเยนในรอบสัปดาห์นับถึงวันที่ 29 มี.ค. ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการเดือน มี.ค. ขยายตัว 54.1 น้อยลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย XAM มองว่าหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นมาเยอะมากรับรู้ข่าวดีด้านงบ Q4 23 และแนวโน้มงบ Q1 24 ไปค่อนข้างมาก รวมถึงค่าเงินเยนยังอ่อนค่ากว่าจุดสมดุลในระยะยาวทำให้มองแนวโน้มว่าเยนจะรักษาระดับดังกล่าวก่อนจะต้องกลับมาแข็งค่าขึ้นในที่สุด (Take Profit from Nikkei 225 & Big Cap Equity/Rotate to Mid/Small Cap Value)
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการไฉซินขยายตัวตามคาดที่ระดับ 52.7 ด้านยอดค้าปลีกฮ่องกงเดือน ก.พ. ขยายตัวที่ 1.9% (ม.ค. 0.9%) XAM มองเห็นหุ้นจีนมีความแข็งแกร่งมากขึ้น แต่ยังแนะนำสองกรณี 1. ลงทุนใน CSI 300 Index 2. ลงทุนใน Greater China หรือ Asia/EM Alpha Fund มากกว่าลงทุนในกอง China Active Fund แบบดั้งเดิม (China Deleveraging Trend)/Over Allocated Investor Trim at HSCEI +/- 200 DMA switch to >>> EM/Asia Alpha Fund, Slightly Overweight India)
- SET Index มีแรงซื้อในกลุ่มพลังงาน-โรงกลั่นต่อเนื่อง คาดกองทุนเซคเตอร์ฟันด์ SCBENERGY ยังโดดเด่น โดยกลุ่มโรงกลั่นโดนแรงกดดันจากความกังวลเศรษฐกิจจีนกดดันในช่วงก่อนหน้านี้ ในขณะที่ตัวเลขการผลิตและบางภาคส่วนเศรษฐกิจจีนดูดีขึ้น หุ้นไทยบางกลุ่มจึงได้รับโมเมนตัมเชิงบวก หุ้นกลางเล็กเติบโตสูง ยังค่อนข้างลำบากจนกว่าจะมีลมหนุนด้าน Fund Flow และ Multiple Expansion จากการที่ Market Participants กลับมาลงทุน (Neutral Thai/Over Allocated Investor Trim at SET 1,440+)
|
|