Daily Focus
- Fed Dot-Plot 3 ครั้ง สนับสนุนโมเมนตัมเชิงบวกโดยเฉพาะหุ้นกลางเล็ก Russell 2000 ซึ่ง Laggards S&P 500 มากที่สุดในรอบ 20 กว่าปีที่ผ่านมา ด้านการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ออกมาน้อยกว่าคาดที่ 210,000 ตำแหน่ง (Exp. 215,000) ดัชนีผู้ผลิตฟิลาเดเฟียพลิกเป็นบวกดีกว่าคาดในเดือน มี.ค. รวมถึงผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต S&P Global ขยายตัวกว่าคาดที่ 52.5 (Exp. 51.7) ด้านยอดขายบ้านคงค้างดีกว่าคาดมากในเดือน ก.พ. ที่ 4.38 ล้านหลัง (Exp. 3.94) XAM มองกลุ่ม Growth และกลุ่มที่ Sensitive กับดอกเบี้ยอย่างเช่น US Homebuilders จะแข็งแกร่งต่อเนื่องบนเศรษฐกิจที่แข็งแรงและเฟดที่ค่อนข้าง Dovish (Tactical Play US Growth/Neutral US)
- แบงค์ชาติสวิสเซอร์ไพรส์นักลงทุนลดดอกเบี้ยนโยบายลง -0.25% มาที่ระดับ 1.5% ด้านแบงค์ชาติอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25% โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินสองคนที่เคยมีมุมมองขึ้นดอกเบี้ยลดโทนลงมาสนับสนุนการคงดอกเบี้ย เป็นปัจจัยบวกกับตลาด โดยหุ้นอังกฤษซึ่ง Laggards หลายประเทศในยุโรปปรับตัวขึ้นได้แรงเมื่อคืนที่ผ่านมา ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมยุโรปและเยอรมันออกมาดีกว่าคาด ในขณะที่ดัชนีของฝรั่งเศสยังต่ำคาด XAM มอง Stoxx 600, Stoxx 200 Small-Cap & Dax Index จะให้ Risk/Reward ที่ดี (Slightly Overweight)
- Foreign Outflow ออกจากหุ้นญี่ปุ่น -1.46 ล้านล้านเยนและออกจากตราสารหนี้ญี่ปุ่น -0.8 ล้านล้านเยนในรอบสัปดาห์นับถึงวันที่ 15 มี.ค. 24 ในขณะที่ Nikkei 225 ปรับตัวเข้าใกล้ระดับ 41,000 จุดหลัง BOJ ย้ำจุดยืนด้านนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปอีกระยะหนึ่ง ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการญี่ปุ่นขยายตัวมาที่ 54.9 ในเดือน มี.ค. (ก.พ. 52.9) โดยภาคการผลิตหดตัวลดลงที่ระดับ 48.2 (ก.พ. 47.2) โดยเงินเฟ้อ Core Inflation ยังออกมาตามคาดแม้ CPI เร่งตัวจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น XAM แนะนำลดสัดส่วนหลังตลาด Hype หุ้นญี่ปุ่นมามากในระยะสั้น (Take Profit from Nikkei 225 & Big Cap Equity/Rotate to Mid/Small Cap in Mid-term)
- Dollar Index (DXY ETF) แข็งค่าขึ้นมาที่ 104.06$ ปัจจัยหลักจากการที่ค่าเงินปอนด์และสวิสฟรังก์อ่อนค่าจากท่าทีการดำเนินนโยบายที่ผ่อนคลายมากขึ้น พร้อมเห็นโมเมนตัมดอลลาร์แข็งค่าเล็กน้อยใน 1-2 วัน แต่มีโอกาสอ่อนค่าลงในเฟสถัดไป คาดสนับสนุนผลตอบแทนหุ้นกลุ่ม Asia/EM คาด Foreign Inflow จะเข้ากลุ่มหุ้น EM/Asia โดยกลุ่มที่ถูก Overweight อย่างเช่น อินเดีย, เกาหลีใต้, ไต้หวัน และอินโดนีเซีย รวมถึงเข้าหุ้น Laggards อย่างไทย, จีน และอาจมีเม็ดเงินเข้า Frontier Market อย่างเวียดนามด้วยบางส่วน (China Deleveraging Trend)(Trading (Sell High Buy Low)/Over Allocated Investor Trim at HSCEI +/- 200 DMA switch to >>> EM/Asia Alpha Fund)
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมอินเดียเดือน มี.ค. ขยายตัวแข็งแกร่งที่ระดับ 61.3 (ก.พ. 60.6) สะท้อนโมเมนตัมเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของอินเดีย โดยดัชนีภาคการผลิตเร่งตัวขึ้นมาที่ระดับ 59.2 (ก.พ. 56.9) โดยยังเห็นโมเมนตัมเศรษฐกิจในระยะสั้น/กลาง/ยาวที่ดี ในขณะที่ราคาหุ้นยังตึงตัวและ YTD Return ยังทรงตัว จากการที่นักลงทุนมีการหมุนไปลงทุนกลุ่ม Semiconductor Related ในเอเชียและกลุ่ม Laggards ที่ถูกลงมามากอย่างจีน (Slightly Overweight India)
- เงินเฟ้อฮ่องกงเดือน ก.พ. เทียบรายปีต่ำคาดที่ 2.1% (Exp. 2.2%) ภาพรวมโมเมนตัมเงินเฟ้อยังค่อนข้างสมดุล (Neutral Hongkong Asset)
- DELTA HANA KCE ซึ่งเป็นหุ้น Semiconductor ยังบวกเด่นนำตลาด โดย XAM มองกองทุน Mid-Cap Alpha Fund ยังลงทุนได้ แต่ต้องรอถึง Q3 24 คาดจะฟื้นตัวได้หลังเฟดเริ่มลดดอกเบี้ยครั้งแรก และตลาดเริ่มกลับมาลงทุนหุ้นขนาดกลาง (คาดราคาจะขึ้นหลังหุ้นใหญ่) (Neutral Thai/Over Allocated Investor Trim at SET 1,440+)
|
|