XAM Daily / 20 Dec 2023




ภาพรวมตลาด

  • ตลาดสหรัฐยังบวกต่อเนื่อง Russell 2000 พลิกกลับมาบวกแรง (+)

แนวโน้มตลาดวันนี้

  • หุ้นเอเชียทุกตลาดเปิดบวกยกเว้น จีน A-Shares (+) แนะนำรอสะสมหุ้นญี่ปุ่นที่ราคา Nikkei 225 32,000 จุด XSpring AM มองญี่ปุ่นและอินเดียยังมีลมหนุนด้าน Fund-Inflow จาก Global Investor (+) ด้าน Futures สหรัฐเปิดลบ (-)(ณ เวลา 9.08) XSpring AM ยังมองเห็น Style Rotation ในหุ้นสหรัฐคาดจะยังมีแรงขาย Magnificent-7 ตราบเท่าที่เงินเฟ้อลงแต่เศรษฐกิจยังดี ไปเข้ากลุ่มวัฏจักรและหุ้นขนาดกลางเล็กแถว 3 Laggards-Play เช่น ARKG (TMB-ES-GENOME)(+) มองกองทุนหุ้น Small-Cap อย่าง SCBUSSM ยังเป็น Laggards Play สำหรับ Q1 2024 เช่นกัน (+) 
  • นอกจาก US กลุ่มหุ้น Global Property & Infra, EU Growth, EU Small-Cap และ German Stock ยังเป็นกลุ่มที่น่าสนใจ (+)
  • XSpring AM แนะนำนักลงทุนเพิ่มการลงทุนในส่วนของ Private Credits สำหรับนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (UI) (+)

Daily Focus

  • ประธานเฟดสาขาแอตแลนตาแสดงความคิดเห็นว่าไม่คิดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยหลายครั้งและเริ่มลดดอกเบี้ยตั้งแต่เดือน มี.ค. 2024 บนเงื่อนไขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมาก ) ในขณะที่ FedWatch Tool ของ CME Group สะท้อนนักลงทุนกว่า 67.5% คาดว่าเฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยเดือน มี.ค. 2024 และนักลงทุนมองการลดดอกเบี้ยปีหน้าถึง 1.5% (6 ครั้ง) ซึ่งตลาด Priced-In ปัจจัยข่าวดีด้าน Fed Pivot (แนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายการเงิน) ไปมากแล้ว ) ด้านตัวเลขเศรษฐกิจเมื่อคืนนี้ การขออนุญาติสร้างบ้านเดือน พ.ย. ต่ำคาดเล็กน้อยที่ 1.46 ล้านหลัง (Exp. 1.47) ในขณะที่การเริ่มต้นสร้างบ้านมากกว่าคาดที่ 1.56 ล้านหลัง (Exp. 1.36) ด้านดัชนี Redbook (วัดการเติบโตของยอดขายสาขาเดิมเทียบปีก่อน)(15 ธ.ค.) ขยายตัว 3.6% (จากสัปดาห์ก่อนที่ 3.4%) XSpring AM มองว่าหลายตัวเลขเศรษฐกิจสะท้อนเศรษฐกิจสหรัฐยังแข็งแกร่งแม้ลดความร้อนแรงลงจากเมื่อช่วง 3 ไตรมาสแรกปี 2023 ) ด้าน Goldman Sachs ซึ่งเป็น Big US Bank ปรับเป้า S&P 500 รับปัจจัย Macro Positive Surprise ไปที่ 5,100 จุดในปี 2024 (+) XSpring AM มองว่าหุ้นสหรัฐยังอยู่ใน Honeymoon Period ที่จะ Frontrunning ข่าวดีจาก Fed จนกว่าจะมีอุปสรรคทำให้อารมณ์บวกของนักลงทุนในตลาดสะดุดลง (-) แนะนำว่าให้นักลงทุนแบ่งสะสมลงทุนในกลุ่มการลงทุนที่ยังมี Uspide ถ้าเป็นหุ้นใหญ่อย่าง S&P 500 ก็ในเซคเตอร์ อสังหา, พลังงาน และการเงิน ถ้าเป็นกองทุนหุ้นขนาดเล็กแนะนำให้เพิ่มสัดส่วนหุ้น Value ซึ่ง Laggards กว่า Small-Cap Growth (+) และในอนาคตหากตลาดกลับทิศหรือมีปัจจัยลบมากระทบให้ลดสัดส่วนให้ทัน
  • ดัชนีเงินเฟ้อ Core CPI ยุโรปเทียบรายเดือนในเดือน พ.ย. ออกมาตามคาดที่ -0.6% ส่วนเงินเฟ้อ CPI ต่ำคาดที่ -0.6% (Exp. -0.5%) แรงกดดันเงินเฟ้อในยุโรปดูดีขึ้นมาก ประกอบกับหุ้นยุโรปที่ Laggards เทียบสหรัฐและญี่ปุ่น ทำให้ XSpring AM ยังมองเห็น Upside ในหุ้นยุโรป Small-Cap (+) 
  • คณะกรรมการ BOJ มีมติคงดอกเบี้ยที่ระดับ -0.1% และยังคงให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นประเภทอายุ 10 ปีเคลื่อนไหวที่ระดับราว 0% โดยคงนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (YCC) ขอบบนที่ระดับ 1.0% (+) โดยมองเห็นความเป็นไปได้ที่เงินเฟ้อญี่ปุ่นจะกลับสู่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ในระยะยาว แต่ยังจับตาดูความยั่งยืนของเงินเฟ้อค่าจ้างแรงงาน (ซึ่งจะช่วยจูงใจความต้องการบริโภคภาคประชาชน) รวมถึงย้ำว่าพร้อมตอบสนองสภาพคล่องหากจำเป็น (+) เงินเยนอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับ 143.78 เยนต่อดอลลาร์ จากระดับประมาณ 142.64 ก่อนประชุม ด้านยอดการส่งออกเทียบรายปีในเดือน พ.ย. ยังหดตัวกว่าคาดที่ -0.2% (Exp. 1.5%) XSpring AM มองว่าหุ้นญี่ปุ่นยังน่าสนใจในระยะกลาง/ยาวแต่ระยะสั้น Upside จากระดับปัจจุบันอาจจะไม่สูงเท่า US & EU Stock ในหุ้น Cyclical และ Small-Cap ที่ยัง Laggards ) 
  • แบงค์ชาติจีนคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.45% ) ด้าน Fund-Flow ยังไหลออกจากตลาดหุ้นจีน XSpring AM มองว่าจีนยังต้องมองเกมระยะยาว โดยมองว่าระยะสั้น/กลางยังไม่เห็น Catalyst เชิงบวกที่จะทำให้หุ้นจีนกลับมาบวกแรงจนกว่าจะเห็น Policy U-Turn จากทางการจีนหรือ Economic Positive Surprise (+) นักลงทุนต้องถือลงทุนต่ออีกอย่างน้อย 2-3 ปีจากปัจจุบัน (+) 
  • หุ้นอินเดียยังบวกต่อเนื่องจากตลาดโลกที่ Risk-On และยังไม่มี Catalyst เชิงลบเฉพาะตัวที่จะมาหยุดรอบขาขึ้นของหุ้นอินเดีย แต่ขนาดของการขึ้นอาจจะไม่ได้เยอะมาก แต่คาดว่าจะขึ้นต่อเนื่องและ Downside จำกัด เพราะมีนักลงทุนพร้อมแบ่งเงินลงทุนเข้ามาเป็นจำนวนมาก (+) 
  • ตลาดหุ้นไทยยังไม่ยืนเหนือระดับ 1,400 จุด ยังขาดปัจจัยบวกเฉพาะตัวทำให้ตลาดซื้อขายในกรอบแคบ ) นักลงทุนต้องลุ้นช่วงวันทำการที่เหลือของปี ) ด้านตลาด Vietnam Index ยังซื้อขายที่ระดับต่ำกว่า 1,100 จุดเช่นกัน มองคนที่เข้าลงทุนเวียดนามต้องมองปัจจัยพื้นฐาน ) ทั้งไทยและเวียดนามยังไม่ได้น่าสนใจโดยเปรียบเทียบในเชิง Momentum-Play (-) แต่ดูดีในเชิง Laggards-Play โดยเฉพาะหากเลือกลงทุนใน Alpha-Fund (+) 

กลยุทธ์การลงทุน

  • Slightly Overweight Global Property (Interest Rates Sensitive Theme) 
  • Slightly Overweight German & EU Alpha Stock (Laggards & Low Valuation Play) 
  • Slightly Overweight India & South Korea Stock
  • Slightly Overweight Japan Value Stock
  • Slightly Overweight หุ้นสหรัฐ Small-Cap Growth มีโอกาสฟื้นตัว
  • Slightly Overweight หุ้น Semiconductor ทยอยสะสมลงทุน
  • Slightly Overweight หุ้น Large-Cap Growth สหรัฐ (Ex Tesla, NVIDIA) รอ Buy-On-Dip
  • Slightly Overweight หุ้นไทย Mid-Small Cap Stock มีโอกาสสำหรับกองทุนที่เลือกหุ้น Super Stock มองกองไทย Healthcare มองว่ายังเป็นภาคส่วนที่เป็น Growth Engine สำคัญของไทย

คำแนะนำ

  • KKP-GINFRAEQ-H กองทุนหุ้นโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก และ K-GPROP-A(A) กองทุนอสังหาทั่วโลก
  • K-EUROPE กองทุนหุ้นยุโรป, SCBEUSM หุ้นขนาดกลางเล็กยุโรป, TMBGER หุ้นเยอรมัน
  • TMBINDAE, SCBKEQTG อินเดีย & เกาหลีใต้
  • ASP-NGF, TMBJPNAE หุ้นญี่ปุ่น
  • SCBPGF หุ้นโลก Value, UGD หุ้นกลางเล็ก Durable
  • K-GHEALTH หุ้น Healthcare, ONE-HOSPITAL หุ้นไทยและหุ้นโลก Healthcare
  • ASP-SME, ABSM, ASP-T12, M-MIDSMALL, TLMSEQ เป็นกองหุ้นไทย Alpha 
  • ABAGS หุ้นขนาดกลางเล็กสหรัฐ Blended Character
  • TMB-ES-GCG, K-GTECH
  • SCBUSAA รับ 4.8 บาท, KF-US รับ 12.2 บาท, SCBROBOA รับ 14.8 บาท
  • เก็งกำไร M-META ที่ราคา METV ETF <10.5$ , TMB-ES-GINNO ที่ราคา ARKK ETF <45$ และ LHSEMI ที่ราคา SOXX ETF <510$

XSpring AM

Source: Bloomberg, Reuter