XAM Daily / 8 Dec 2023




ภาพรวมตลาด

  • หุ้นสหรัฐปรับตัวขึ้น เชื่อจะมีการขึ้นลงสลับกันหลังปรับขึ้นมากว่า 5 สัปดาห์

แนวโน้มตลาดวันนี้

  • หุ้นออสเตรเลียและจีน A-Shares เปิดบวก (+) หุ้นจีน H-Shares และญี่ปุ่นเปิดลบ (-) โดย Nikkei 225 ย่อลงมาที่ 32,320 แนะนำรอสะสมหุ้นญี่ปุ่นหากย่อลงอีก -2% มองญี่ปุ่นและอินเดียยังมีลมหนุนด้าน Fund-Inflow จาก Global Investor (+) ด้าน Futures สหรัฐเปิดลบ (-)(ณ เวลา 9.35) XSpring AM ยังมองเห็น Style Rotation ในหุ้นสหรัฐคาดจะยังมีแรงขาย Magnificent-7 ตราบเท่าที่เงินเฟ้อลงแต่เศรษฐกิจยังดี ไปเข้ากลุ่มวัฏจักรและหุ้นขนาดกลางเล็ก Laggards-Play (+) 
  • แนะนำ Go With The Flow โค้งสุดท้ายหุ้น Mid/Small Growth สหรัฐ ซึ่งขึ้นมาช้ากว่าในช่วงที่ผ่านมา มองว่ากองทุนหลัก SCBUSAA ไม่น่าจะย่อต่ำกว่า 102$ ก่อนลุ้นปรับตัวขึ้นต่อได้อีก มอง IWO ETF (Russell Growth 2000 ETF) ที่ระดับ 225$ ลงทุนได้ (+) XSpring AM คาดว่าตอนนี้ตลาดสหรัฐจะยังเกิด Sector Rotation และหุ้น Small Cap และ Microcap ที่ Laggards ยังจะ Outperformed ต่อในช่วงสั้นๆ 1-2 สัปดาห์ (+) 
  • ถ้าถือลงทุนได้ 3 เดือนขึ้นไป หุ้น EU Growth, EU Small-Cap และ German Stock น่าสนใจ (+)
  • XSpring AM แนะนำนักลงทุนเพิ่มการลงทุนในส่วนของ Private Credits สำหรับนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (UI) (+)

Daily Focus

  • การขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐประจำสัปดาห์ (1 ธ.ค.) น้อยกว่าคาดเล็กน้อยที่ 220,000 ตำแหน่ง (Exp. 222,000) แต่ตลาดยังปิดบวกหลังเมื่อคืนก่อนปิดลบจากแรงเทขายทำกำไรสลับ ) มองว่าตลาด Priced-In เรื่องตลาดแรงงานลดความร้อนแรงลง เงินเฟ้อลดลง เศรษฐกิจชะลอลงแต่ยังแข็งแรง พร้อมหวังการลดดอกเบี้ยภายใน Q1 2024 ซึ่งหากความคาดหวังถูกหยุดลง ตลาดก็จะเผชิญช่วง Sideway ) แนะนำให้ทยอยลดสัดส่วนหุ้นสหรัฐ และรอสะสมยามตลาดมีช่วงย่อลงเล็กน้อย ด้านหุ้น Alphabet (Google) เปิดตัว AI ใหม่ชื่อ Gemini ใช้สำหรับสร้าง Contents และตอบแชทบอทขายเซอร์วิสลูกค้า ดันหุ้นปิดบวก +5% ซึ่งเป็นแรงส่งหุ้น Magnificent-7 บวกต่อ ซึ่งรวมถึง Nasdaq และ S&P 500 (+) หุ้น AMD พุ่งแรง +10% จากความคาดหวังชิป MI300X ซึ่งมีหน่วยความจำประสิทธิภาพสูง โดยคาดว่า META, Open AI และ Microsoft จะใช้ชิปดังกล่าว (+) 
  • Employment Change ยุโรปไตรมาส 3 เทียบรายไตรมาสเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดที่ 0.2% (Exp. 0.3%) โดย GDP Q3 ยุโรปเทียบรายไตรมาสหดตัวตามคาดที่ -0.1% ด้าน GDP Q3 เมื่อเทียบรายปีต่ำคาดที่ 0% (Exp. 0.1%) ส่วนดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเยอรมันเดือน ต.ค. เทียบรายเดือนหดตัวกว่าคาดที่ -0.4% (Exp. 0.2%) เศรษฐกิจยูโรโซนเข้าสู่ภาวะถดถอยเล็กน้อยในระยะสั้น กำลังอยู่ใน Bottoming-Out Process แต่อย่างไรก็ตามการที่เงินเฟ้อฝั่งต้นทุนปรับตัวลงเร็วแรงเชื่อว่าจะลดแรงกดดันเศรษฐกิจยุโรปในระยะถัดไป รวมถึงคาดว่าธนาคารกลางยุโรปจะเริ่มลดดอกเบี้ย Q2 2024 ซึ่งหากตลาดเพิ่มความคาดหวังการลดดอกเบี้ยที่เร็วขึ้นคาดหุ้นยุโรปก็มีโอกาสบวกได้ดีเดือน ธ.ค. 2023 จนถึง Q1 2024 (+) 
  • GDP Q3 ญี่ปุ่นเทียบรายไตรมาสหดตัวกว่าคาดที่ -0.7% (Exp. -0.5%) ปัจจัยฉุดหลักจากภาคการบริโภคซึ่งเป็นกว่าครึ่งของ GDP ชะลอตัวลงกว่า -0.2% จากที่คาดว่าจะทรงตัว รวมถึงส่งออกต่ำคาดเล็กน้อย ด้านรายได้ที่เป็นเงินสดของคนญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 1.5% ในเดือน ต.ค. (ก.ย. 1.2%) มองเศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัวลงแต่ภาพรวมเห็นทิศทางที่ดีขึ้นจากการหลุดจากกัปดักเงินฝืด (+) รอสะสมหุ้นญี่ปุ่นยามย่อตัวลงช่วงตลาดมีแรงเทขายออกมา 
  • ตัวเลขการส่งออกของจีนเดือน พ.ย. ขยายตัวดีกว่าคาดมากที่ 0.5% (Exp. 
  • 0.8%) ในขณะที่ยอดการนำเข้าต่ำคาดที่ -0.6% (Exp. 3%) สะท้อนว่าการส่งออกจีนยังดูดี (+) แม้เผชิญแรงกดดันด้านการเมืองระหว่างประเทศและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักชะลอลง ) ด้านการนำเข้าที่ลดลงจากหลายสาเหตุซึ่งรวมถึงการที่ผู้บริโภคชาวจีนเพิ่มการกินใช้สินค้าในประเทศ (Self-Sufficient) มากขึ้น (+) Analyst Consensus ปรับลดคาดการณ์ GDP ฮ่องกงปี 2023 เหลือ 3.3% (เดิม 4%) และปี 2024 เหลือ 2.7% (เดิม 3%) ด้าน Moody’s มอง Negative Outlook ฮ่องกงและมาเก๊าจากการเมือง เศรษฐกิจ และการเงินระหว่างฮ่องกงและจีนมีความเชื่อมโยงกันมาก แนวโน้มที่จีนอ่อนแอลง คาดจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจฮ่องกงด้วย (-) ปัญหาด้านอสังหาจีนที่ Oversupply Oxford Economics มองต้องใช้เวลาราว 5 ปีในการปรับสมดุล Demand/Supply ในภาคส่วนดังกล่าว มองต้องใช้เวลาเรื่อง Cash-Flow และกว่าที่จะขึ้นโครงการใหม่แล้วเสร็จพร้อมขายต้องใช้เวลาอย่างมาก (-) รวมถึงคนจีนจะกลับมามั่นใจและอยากซื้อบ้านก็ต่อเมื่อภาคส่วนเศรษฐกิจอื่นของจีนดีพอจนสนับสนุนกำลังซื้อภาคส่วนนี้ให้กลับมาในอนาคต ) 
  • เศรษฐกิจไทยมุ่งส่งเสริมการลงทุนโดยรัฐบาลพยายามให้ภาษีเพื่อจูงใจอุตสาหกรรมคุณภาพสูงที่จะสร้างกำไรที่น่าสนใจเพื่อให้ไทยแข่งขันกับเวียดนามได้ (+) รวมถึงจูงใจให้ญี่ปุ่นลงทุนในรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปไทยอย่างเต็มที่ช่วงโค้งสุดท้าย (+) มองว่าปี 2023 เป็นปีที่ไทยมีรอยต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจหลายอย่างแต่คาดว่าปี 2024-2025 น่าจะดูดีขึ้น (+) หลังเศรษฐกิจไทยผ่าน U-Shape ทางเศรษฐกิจมาในช่วงหลายปีก่อนหน้านี้ มองหลายภาคส่วนธุรกิจยังมีความยากลำบาก ทำให้ความเหลื่อมล้ำของผลตอบแทนหุ้นในตลาดจะยังสูงต่อไป (-) รอ Selective-Buy ในหุ้นที่ Earning Momentum ในอีกหลายไตรมาสข้างหน้าน่าจะดีกว่าตลาด (+) 

กลยุทธ์การลงทุน

  • Slightly Overweight Japan Value Stock
  • Slightly Overweight India & South Korea Stock
  • Slightly Overweight German & EU Alpha Stock (Laggards & Low Valuation Play) 
  • Slightly Overweight หุ้นสหรัฐ Small-Cap Growth มีโอกาสฟื้นตัว
  • Slightly Overweight หุ้น Semiconductor ทยอยสะสมลงทุน
  • Slightly Overweight หุ้น Large-Cap Growth สหรัฐ (Ex Tesla, NVIDIA) รอ Buy-On-Dip
  • Slightly Overweight หุ้นไทย Mid-Small Cap Stock มีโอกาสสำหรับกองทุนที่เลือกหุ้น Super Stock มองกองไทย Healthcare มองว่ายังเป็นภาคส่วนที่เป็น Growth Engine สำคัญของไทย

คำแนะนำ

  • ASP-NGF, TMBJPNAE หุ้นญี่ปุ่น
  • TMBINDAE, SCBKEQTG อินเดีย & เกาหลีใต้
  • SCBPGF หุ้นโลก Value, UGD หุ้นกลางเล็ก Durable
  • K-GHEALTH หุ้น Healthcare, ONE-HOSPITAL หุ้นไทยและหุ้นโลก Healthcare
  • ASP-SME, ABSM, ASP-T12, M-MIDSMALL, TLMSEQ เป็นกองหุ้นไทย Alpha 
  • K-EUROPE กองทุนหุ้นยุโรป, SCBEUSM หุ้นขนาดกลางเล็กยุโรป, TMBGER หุ้นเยอรมัน
  • ABAGS หุ้นขนาดกลางเล็กสหรัฐ Blended Character
  • TMB-ES-GCG, K-GTECH
  • SCBUSAA รับ 4.7 บาท, KF-US รับ 11.9 บาท, SCBROBOA รับ 14.3 บาท
  • เก็งกำไร M-META ที่ราคา METV ETF <10.5$ , TMB-ES-GINNO ที่ราคา ARKK ETF <43$ และ LHSEMI ที่ราคา SOXX ETF <500$

XSpring AM

Source: Bloomberg, Reuter