XAM Daily 07 Nov 2023


ภาพรวมตลาด

  • US Large-Cap Rebound 6 คืนติดกัน (แต่ Russell 2000 เริ่มปิดลบและฟิวเจอรส์คืนนี้ลบ

แนวโน้มตลาดวันนี้

  • แนวโน้มตลาดหุ้นเอเชียคาดวันนี้เริ่มเผชิญแรงเทขายทำกำไร โดยทั้งตลาดออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และฮ่องกงเปิดลบ (-)
  • คาดคืนนี้ดัชนีหุ้นสหรัฐมีโอกาสปิดลบจากฟิวเจอรส์ที่เริ่มอยู่ในโซนลบ (8.50 เวลาไทย) คาดเป็นแรงเทขายทำกำไรหลังตลาดปรับตัวบวกมากว่า 5-6 วันทำการ (-) แนะนำนักลงทุนทยอยลด Positions ในสัปดาห์นี้) 
  • XSpring AM แนะนำนักลงทุนเพิ่มการลงทุนในส่วนของ Private Credits สำหรับนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (UI) ส่วนการลงทุนในกองทุนหุ้นให้อยู่ในหุ้นที่เป็น Quality & Growth ที่ Valuation สมเหตุสมผล (+) จะให้ Risk/Reward ที่ดีกว่า และไม่ต้องกังวล Tail-Risk ระหว่างที่ลงทุน)

Daily Focus

  • US 10Y Yield ปิดที่ 4.635% ยังมองว่า Yield จะวิ่งในกรอบที่เป็น Sweet-Spot ของหุ้นใน 3-4 วันทำการที่เหลือ คืนวันพฤหัสนี้จะมีถ้อยแถลงจากประธานเฟด คุณเจอโรมพาวเวล คาดว่าจะพูดตอกย้ำเรื่องจัดการเงินเฟ้อและรักษาเสถียรภาพในตลาดแรงงาน ส่วนสัปดาห์หน้าก็ยังมีความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อ CPI และ Government Shut-Down ที่เลื่อนมาถึงวันที่ 16 พ.ย. อาจจะกลับมาเพิ่มความผันผวนให้ตลาด มองเป็น Short-Term Flow ให้รีบเคลียร์ Positions) 
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคบริการยุโรปหดตัวเท่ากับคาดการณ์เมื่อคืนที่ผ่านมา) แต่ในภาพรวมการชะลอตัวของตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญยุโรปเพิ่มขึ้นในเดือนต.ค. เพิ่มโอกาสเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้น (-) ด้านหุ้นยุโรปเริ่มมีแรงเทขายทำกำไรเล็กน้อยหลังปรับตัวบวก 5 วันทำการติดกัน) 
  • คณะกรรมการนโยบายการเงินญี่ปุ่น (BOJ) ส่วนใหญ่ต้องการให้เงินเฟ้อกลับมาที่ 2% อย่างถาวร โดยเฉพาะเงินเฟ้อค่าจ้างแรงงาน ถึงจะปรับขึ้นดอกเบี้ยจากระดับติดลบ และยกเลิก Yield Curve Control (การคุม Japan 10Y Yield) สะท้อนว่าแบงค์ชาติญี่ปุ่นยังผ่อนคลายการดำเนินนโยบายการเงินอย่างมาก (Dovish) (+) ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการญี่ปุ่น Jibun Bank เดือน ต.ค. ออกมามากกว่าคาดที่ 51.6 (Exp. 51.1) ด้านการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเดือน ก.ย. เทียบรายปีต่ำคาดเล็กน้อยที่ -2.8% (Exp. -2.7%) ส่วนรายได้เฉลี่ยที่เป็นเงินสดของคนญี่ปุ่นเพิ่มเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดที่ 1.2% ในเดือน ก.ย. เทียบรายปี (Exp. 1%) ภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่นถือว่าดูดีเทียบตัวเองในอดีต ดูดีเทียบยุโรป แต่ก็ไม่ได้แข็งแกร่งหรือร้อนแรงแบบสหรัฐช่วงก่อนหน้านี้ (+) 
  • Fund-Flow ยังไหลออกจากหุ้นจีนทั้ง A-Shares และ H-Shares ในเดือน ต.ค. จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอและความไม่ชัดเจนของการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคเอกชนทั้งระบบของจีน (-) แต่เริ่มมี Fund-Inflow เข้าหุ้นที่ตกลงมาเยอะมากบางตัว เช่น Alibaba, Baidu และ AIA (+) 
  • GDP Q3 23 อินโดนีเซียเทียบรายปีขยายตัว 4.94% (Exp. 5.05%) เทียบรายไตรมาสขยายตัว 1.6% (Exp. 1.71%) โดยการส่งออกหดตัวมากขึ้น การใช้จ่ายภาคครัวเรือนอ่อนตัวลง ในขณะที่การลงทุนยังเพิ่มสูงขึ้น) 
  • เงินเฟ้อ CPI ไทยต่ำคาดที่ -0.31% (Exp. 0%) เทียบรายปีในเดือน ต.ค. ในขณะที่ Core CPI สูงกว่าคาดที่ 0.66% (Exp. 0.59%) มองว่าหุ้นไทยยังประกาศงบน้อยกว่าประเทศอื่น หากประกาศงบเกิน 50% หุ้นกลุ่มที่งบดี จังหวะที่หุ้น EM และหุ้นไทยฟื้นจะขึ้นได้มากกว่าดัชนี กรณี Alpha Fund อยากให้ถือรอประกาศงบในอีก 2-4 สัปดาห์หน้า (+) 

กลยุทธ์การลงทุน

  • Overweight หุ้น Large-Cap Growth สหรัฐ (Ex Tesla, NVIDIA) มีโอกาสสะสมลงทุนในระยะสั้นหลังราคาปรับตัวลงมาในช่วงก่อนหน้านี้
  • Overweight หุ้นไทย Mid-Small Cap Stock มีโอกาสสำหรับกองทุนที่เลือกหุ้น Super Stock คาดโมเมนตั้มกำไร Q3 2023 ยังน่าจะดี และคาดธุรกิจที่เกี่ยวกับภาคบริการยังเติบโตดี นอกจากนี้ยังชองกองไทย Healthcare มองว่ายังเป็นภาคส่วนที่เป็น Growth Engine สำคัญของไทย
  • Overweight Japan Value Stock
  • Slightly Overweight หุ้นสหรัฐ Small-Cap Growth มีโอกาสฟื้นตัว
  • Slightly Overweight หุ้น Semiconductor ทยอยสะสมลงทุน

คำแนะนำ

  • ASP-NGF, TMBJPNAE หุ้นญี่ปุ่น
  • TMBINDAE, SCBKEQTG อินเดีย & เกาหลีใต้
  • SCBPGF หุ้นโลก Value, UGD หุ้นกลางเล็ก Durable
  • K-GHEALTH หุ้น Healthcare, ONE-HOSPITAL หุ้นไทยและหุ้นโลก Healthcare
  • ABAGS หุ้นขนาดกลางเล็กสหรัฐ Blended Character
  • ASP-SME, ABSM, ASP-T12, M-MIDSMALL, TLMSEQ เป็นกองหุ้นไทย Alpha 
  • TMB-ES-GCG, K-GTECH
  • SCBUSAA รับ 4.5 บาท, KF-US รับ 11.1 บาท, SCBROBOA รับ 13.4 บาท
  • เก็งกำไร M-META ที่ราคา METV ETF 9.5-9.6$ , TMB-ES-GINNO ที่ราคา ARKK ETF 38-39$ และ LHSEMI ที่ราคา SOXX ETF 450-470$

XSpring AM

Source: Bloomberg, Reuter