Daily Focus
- หุ้นที่แตะระดับ All-Time High ในช่วงนี้ยังเป็น Large-Giants Caps คละกลุ่มอุตสาหกรรมตั้งแต่ Amazon, American Express, P&G, Goldman Sachs และ Chipotle ซึ่งหากภาพรวมหุ้นเซคเตอร์อื่นๆนอกเหนือจาก Tech, สินค้าฟุ่มเฟือยและ Communication Services ปรับตัวขึ้น คาดจะช่วยสนับสนุนให้ Market Breadth ตลาดปรับตัวดีขึ้น ซึ่งหุ้นกลุ่มวัฏจักร (Cyclicals) กลุ่มอื่นๆน่าจะต้องปรับตัวขึ้นในระยะ 1-3 เดือนต่อจากนี้และจะทำให้ดัชนี S&P 500 ยืนที่ระดับ 5,300 จุดอย่างแข็งแกร่ง (Neutral US/Tactical-Play Semiconductor ETF)
- การขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐรอบสัปดาห์ก่อนออกมามากกว่าคาดที่ 231,000 ตำแหน่ง (Exp. 210,000) ส่งผลให้ US 10Y Yield อ่อนตัวลง โดย Dollar Index อ่อนตัวปิดที่ระดับ 105.2 จากการที่เศรษฐกิจสหรัฐลดระดับความแข็งแกร่ง (นำเดี่ยว)ลง ทำให้ตลาดการเงินเปิดบวกจากความคาดหวังนโยบายการเงินจาก FED (Neutral US/Sligthly Overweight Diversified Global Quality Growth Fund)
- หุ้นยุโรปยังแรงไม่หยุด ฉุดไม่อยู่ปิด All-Time High ต่อเนื่องนำโดยหุ้นกลุ่มแบงค์และกลุ่มอุตสาหกรรมจากงบและ Guidance ที่แข็งแกร่ง หุ้น Siemens, Schneider Electric และ Bank ยุโรปหลายแบงค์ปรับตัวขึ้นได้ดี จะมีเพียงหุ้นผู้ผลิตรถยนต์อย่าง Mercedes-Benz ที่เผชิญแรงกดดันจากสภาวะการแข่งขันในตลาดรถยนต์ที่รุนแรงแต่อย่างไรก็ตามยังมีลักษณะเป็นหุ้นปันผลสูง โดยปัจจัยสนับสนุนตลาดหลักๆยังมาจาก 3-E Econ, Earnings, ECB ซึ่ง XAM มองยุโรปยังให้ Risk/Reward ที่ดี (Slightly Overweight EU & DAX)
- เม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติยังไหลเข้าหุ้นญี่ปุ่นในรอบสัปดาห์ก่อนกว่า 0.26 ล้านล้านเยน ในขณะที่ไหลออกจากตราสารหนี้ญี่ปุ่นกว่า 1.01 ล้านล้านเยน โดย Goldman Sachs Research มองว่าแบงค์ชาติญี่ปุ่น (BOJ) จะค่อยๆปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะยาวทำให้คาดการณ์ค่าเงินเยนจะค่อยๆแข็งค่ามากขึ้นในระยะ 1.5-3 ปีข้างหน้า ซึ่งยังสร้างความน่าสนใจให้นักลงทุนต่างชาติลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นแบบไม่ Hedged ค่าเงินเพื่อรับเงินปันผล, กำไรจากการลงทุน (Capital Gain) และคาดหวังกำไรจากค่าเงิน (FX Gain) โดยภาพรวมตัวเลขเศรษฐกิจญี่ปุ่นทั้ง Hard และ Soft Data ยังดูดี โดยภาพรวมการใช้จ่ายครัวเรือนเทียบรายปีในเดือน มี.ค. หดตัวน้อยกว่าคาด ส่วนด้านดัชนีสภาวะเศรษฐกิจเดือน มี.ค. ก็ขยายตัวขึ้นจากเดือนก่อน พร้อมกับดัชนีความคาดหวังเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าก็ออกมามากกว่าคาด (Neutral Japan/APAC Alpha Fund KF-ORTFLEX)
- ยอดส่งออกจีนในรูปสกุลเงินดอลลาร์พลิกขยายตัวมากกว่าคาดที่ 1.5% ในเดือน เม.ย. เทียบรายปี ส่วนหนึ่งจากปัจจัยด้านฤดูกาล แต่เป็นการสะท้อนว่าความต้องการสินค้าจากจีนยังสูงโดยเฉพาะจาก EM Country แต่อย่างไรก็ตามยังเห็นเทรนด์ใหญ่ที่ฝั่ง DM มีโอกาสลดการพึ่งพิงจีนและกระจายความเสี่ยงมาที่ประเทศ EM อื่นๆมากขึ้น โดย Bloomberg Economist มองว่าการส่งออกที่ดีขึ้นของจีนช่วยจำกัด Downside เศรษฐกิจจีนได้ แต่อย่างไรก็ตามการที่ GDP จีนจะถึง Target ที่ 5% ยังต้องการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางการจีนอีกมาก เนื่องจากภาคการผลิตและส่งออกยังไม่สามารถชดเชยภาคอสังหาและภาคการบริโภคที่ยังถูกกดดันได้ โดยใน Details รายการสินค้านำเข้า ณ เดือน มี.ค. พบว่าความต้องการนำเข้าโลหะมีค่าจากจีนยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับการขยายตัวของ Hard-Tech Goods ในจีนซึ่งรวมถึงสินค้า High Tech, EV Cars และการลงทุน Smart City ของจีน XAM คาดว่าหุ้นจีนคาแรคเตอร์ Value ยังคง Outperformed เด่น แนะนำแบ่งลดสัดส่วน Active Fund ดั้งเดิมและปรับการลงทุนมายังกองทุน Value & Asia Alpha Fund (China Deleveraging Trend)/Over Allocated Investor Trim at HSCEI +/- 200 DMA switch to >>> EM/Asia Alpha Fund)
- หุ้นอินเดียเผชิญแรงขายต่างชาติ ฉุดเซ็นติเมนต์ กดดันให้ Downside เปิดกว้างมากขึ้น หากอ้างอิงจาก Price Momentum แต่อย่างไรก็ตามสำหรับนักลงทุนระยะกลาง/ยาว ปัจจัยพื้นฐานหุ้นอินเดียยังดูดี กำไรที่ออกมาค่อนข้างใกล้เคียงกับคาดการณ์ซึ่งเป็นไปได้ที่ระยะสั้น Hot Money ซึ่งเป็นเงินเก็งกำไรระยะสั้นอาจมีหมุนไปที่จีนบ้าง แต่กลุ่มที่ลงทุนในระยะกลาง/ยาวหุ้นอินเดียยังเป็น Secular Trend ไม่ใช่ Fast Fashion (Slightly Overweight India)
- หุ้นกลางเล็กไทยยังถูกกดดันแม้หุ้นใหญ่จะมีโมเมนตัมที่ดีขึ้น หลังประกาศงบหุ้นกลางเล็กบางตัวกำไรพลิกต่ำกว่าคาดมาก อย่างไรก็ตามอยากให้นักลงทุนที่ถือลงทุนกองทุนหุ้นไทยขนาดกลางเล็กถือลงทุนต่ออีกอย่างน้อย 6 เดือนค่อยลดสัดส่วนออกมา (Neutral Thai/Over Allocated Investor Trim at SET 1,440+)
|
|