XAM Daily 31 Oct 2023


ภาพรวมตลาด

Monday Rebound (แต่คาดคืนนี้ถึงคืนวันศุกร์ยังผันผวน).

แนวโน้มตลาดวันนี้

  • แนวโน้มตลาดหุ้นเอเชียคาดวันนี้บวกลบผสมผสาน (Mixed) มีส่วนที่บวกตาม EU & US Sentiment (+) ในขณะที่ดัชนี NIKKEI 225 เปิดลบ -0.2%  (8.51 เวลาไทย) จากการรอติดตามถ้อยแถลงของแบงค์ชาติญี่ปุ่น BOJ (-) รวมถึงลบตาม Hangseng Index หลัง PMI จีนออกมาต่ำคาดทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ (-) รอติดตามตัวเลขดุลการค้าไทย รวมถึงตัวเลขการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนไทยในเดือน ก.ย. )
  • รอติดตามตัวเลขเงินเฟ้อและ GDP ยุโรปคืนนี้ รวมถึงดัชนีราคาบ้านสหรัฐในเดือน ส.ค. ซึ่งหากยังเร่งตัวสูงขึ้นยังมีโอกาสกดดันบอนด์ยีลด์สหรัฐเพิ่มเติม รวมถึงดัชนี Consumer Confidence สหรัฐ
  • XSpring AM มองเห็นโมเมนตั้มเชิงบวกจากหุ้น Russell 2000 (เมื่อคืนนี้) โดยที่ราคา Priced-In ปัจจัยลบไปเยอะมาก ทั้งๆที่เศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง ซึ่งที่จริง ตอนที่เศรษฐกิจยังดี หุ้นกลางเล็ก Expected Upside จะมากกว่าหุ้นใหญ่ (+) แต่แรงกดดันตลาดให้ Risk-Off ช่วงนี้จะมาจาก 1.) ยีลด์พันธบัตรเร่งตัว (-) 2.) สงครามที่ยังคุกกรุ่นมากขึ้น (-) ทำให้ตลาดยังแกว่งในกรอบ Sideway แทนที่จะฟื้นตัวตามผลประกอบการที่ออกมาดี ) หากกังวลให้จัดสรรการลงทุนแบบตั้งรับ เพิ่มทางเลือกการลงทุนในกลุ่ม Alternative Investment เช่น Private Asset และ Hedge Fund สำหรับนักลงทุนรายใหญ่ ส่วนการลงทุนในกองทุนหุ้นให้อยู่ในหุ้นที่เป็น Quality & Growth ที่ Valuation สมเหตุสมผล (+

Daily Focus

  • ตลาดหุ้น Rebound หลังจำนวนวันที่ปิดลบติดกันในสองสัปดาห์ที่ผ่านมามากกว่าปกติ ซึ่งตลาด Risk-Off ในช่วงที่ผ่านมาจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่งและดีกว่าคาดในเกือบทุกตัวเลขสำคัญ (US Economic Positive Surprise) กดดันให้ US 10Y Bond Yield เร่งตัว กลบข่าวดีที่จริงๆแล้วกว่าครึ่งของบริษัทใน S&P 500 กำไรสุทธิต่อหุ้นดีกว่าคาดมากถึง 7% (US Earnings ดีกว่า Global Earnings Trend) (+)
  • หุ้นยุโรป Rebound เช่นกัน โดยเงินเฟ้อในรัฐที่มีประชากรเยอะสุดในเยอรมันปรับตัวลดลงเทียบรายเดือน ในเดือน ต.ค. ส่วนเงินเฟ้อสเปนไม่เร่งตัวสูงขึ้น ลดแรงกดดัน Bond Yield (+) ด้านดัชนี Business Climate ยุโรปหดตัวน้อยลงที่ -0.33 ในเดือน ต.ค. จากระดับ -0.35 ในเดือนก่อน (-) ด้านดัชนี Industrial Confidence หดตัวน้อยกว่าคาดที่ -9.3 (Exp. -9.5) ส่วนดัชนี Services Sentiment ดีกว่าคาดที่ 4.5 (Exp. 3.4) ภาพรวมเห็นเศรษฐกิจยุโรปอยู่บนเส้นทาง Bottoming-Out Process (+) 
  • สัดส่วน Jobs / Applicants Ratio ในญี่ปุ่นลดลงจาก 1.3 ในเดือน ส.ค. มาที่ 1.29 ในเดือน ก.ย. สะท้อนการเปิดรับสมัครงานต่อความต้องการสมัครงานที่สมดุลมากขึ้น (ลดเงินเฟ้อค่าจ้างในอนาคต) ด้านดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมออกมาที่ 0.2% ในเดือน ก.ย. (Exp. 2.5%) ด้านยอดค้าปลีกเทียบรายเดือนในเดือน ก.ย. พลิกกลับมาหดตัวที่ -0.1% (จากเดือนก่อนขยายตัว 0.1%) เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มมีตัวเลขที่สะท้อนทิศทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง (Economic Negative Surprise) (-)
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อจีน (NBS) ในเดือน ก.ย. ภาคการผลิตออกมาต่ำกว่าคาดในโซนหดตัวที่ระดับ 49.5 (Exp. 50.2) ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการขยายตัวต่ำกว่าคาดมากที่ 50.6 (Exp. 51. สะท้อนความมั่นใจในภาคธุรกิจจีนยังต้องใช้เวลากว่าจะฟื้นตัวแข็งแกร่ง (-) 
  • บริษัทจดทะเบียนจีนกว่า 30 แห่งประกาศแผนการซื้อหุ้นคืนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา (+) รวมถึง E Fund Management กองทุนขนาดใหญ่ประกาศแผนการซื้อหุ้นคืนเช่นกัน ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนที่ Central Huijin (บ. ลงทุนของรัฐบาลจีน) ซื้อหุ้นจีน ถือเป็น Momentum เชิงบวกต่อ Local Fund-Flow จีน (+) รวมทั้งข่าวบวกจากการที่คณะกรรมการ NPC ผ่านร่างกฎหมายอนุญาตให้รัฐบาลท้องถิ่นได้รับโควตาในการออกพันธบัตรในปีงบประมาณ 2024 เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบชลประทานท้องถิ่น ซึ่งเชื่อว่าจะดีกับการจ้างงานและความสามารถในการแข่งขันของแต่ละท้องถิ่นจีนในระยะยาว (+) 
  • Tata Group จะเริ่มผลิต iPhone ในอินเดีย สะท้อนเทรนด์ที่บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ต้องการกระจายห่วงโซ่การผลิตมาอินเดีย คาดว่าจะเกิดแรงกระเพื่อมเชิงบวกโดยเฉพาะต่ออุตสาหกรรมระดับกลางและขั้นสูง และจะทำให้สินค้าจากอินเดียถูกยกผลิตภาพการผลิตได้ในระยะยาว จากขบวน FDI ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องและคาดว่าจะเกิดต่อในอนาคต (+) 
  • ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าแบงค์ชาติไทยคาดเศรษฐกิจไทย (GDP) จะโตได้ 4.4% ในปี 2024 ซึ่งรวมผลของมาตรการดิจิทัลวอลเล็ตวงเงินรวมราว 5 แสนล้านบาทเข้าไปแล้ว ซึ่งหากรัฐบาลมีการปรับรายละเอียดมาตรการ หรือลดขนาดวงเงินที่ใช้ก็จะต้องมีการ Revised Down หรือปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยในอนาคตลง ส่วนคาดการณ์ GDP ทั้งปี 2023 แบงค์ชาติคาดว่าจะโต 2.7-2.8% โดยในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาแม้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจะขยายตัวต่ำคาดแต่การบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวดี ส่วนการส่งออกก็ออกมาตามคาด ) ด้านโมเมนตัมหุ้นไทยเมื่อวานฟื้นตัว หลังกำไรต่อหุ้นของหุ้น Delta ดีกว่าคาดมาก สนับสนุนดัชนีฟื้นตัว (+) 

กลยุทธ์การลงทุน

  • Overweight หุ้น Large-Cap Growth สหรัฐ (Ex Tesla, NVIDIA) มีโอกาสสะสมลงทุนในระยะสั้นหลังราคาปรับตัวลงมาในช่วงก่อนหน้านี้
  • Overweight หุ้นไทย Mid-Small Cap Stock มีโอกาสสำหรับกองทุนที่เลือกหุ้น Super Stock คาดโมเมนตั้มกำไร Q3 2023 ยังน่าจะดี และคาดธุรกิจที่เกี่ยวกับภาคบริการยังเติบโตดี นอกจากนี้ยังชองกองไทย Healthcare มองว่ายังเป็นภาคส่วนที่เป็น Growth Engine สำคัญของไทย
  • Overweight Japan Value Stock
  • Slightly Overweight หุ้นสหรัฐ Small-Cap Growth มีโอกาสฟื้นตัว
  • Slightly Overweight หุ้น Semiconductor ทยอยสะสมลงทุน

คำแนะนำ

  • ASP-NGF, TMBJPNAE หุ้นญี่ปุ่น
  • TMBINDAE, SCBKEQTG อินเดีย & เกาหลีใต้
  • SCBPGF หุ้นโลก Value, UGD หุ้นกลางเล็ก Durable
  • K-GHEALTH หุ้น Healthcare, ONE-HOSPITAL หุ้นไทยและหุ้นโลก Healthcare
  • ABAGS หุ้นขนาดกลางเล็กสหรัฐ Blended Character
  • ASP-SME, ABSM, ASP-T12, M-MIDSMALL, TLMSEQ เป็นกองหุ้นไทย Alpha
  • TMB-ES-GCG, K-GTECH
  • SCBUSAA รับ 4.5 บาท, KF-US รับ 11.1 บาท, SCBROBOA รับ 13.4 บาท
  • เก็งกำไร M-META ที่ราคา METV ETF 9.5-9.6$ , TMB-ES-GINNO ที่ราคา ARKK ETF 38-39$ และ LHSEMI ที่ราคา SOXX ETF 450-470$

XSpring AM

Source: Bloomberg, Reuter