Daily Focus
- คาดหุ้นสหรัฐงบยังดีต่อเนื่องจากการที่กำไรสุทธิออกมามากกว่าคาดโดยการที่บริษัทส่วนใหญ่ปรับขึ้นราคาสินค้าไปตามเงินเฟ้อในขณะที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าทำให้อัตรากำไรจากการดำเนินงานดูดีขึ้น พร้อมกับการที่หุ้นกลุ่ม Cyclicals กำไรฟื้นตัวจาก Business Cycles จับตาประชุม FED คืนวันพรุ่งนี้ โดย CIO Bloomberg Intelligence คาด Base Case เฟดยังคงดอกเบี้ยจากการที่เงินเฟ้อที่เร่งขึ้นช่วงที่ผ่านมาเป็นเงินเฟ้อฝั่ง Supply Side ซึ่งการปรับขึ้นดอกเบี้ยไม่ได้ช่วยสถานการณ์ดังกล่าวได้มากนัก (Neutral US/Tactical-Play Semiconductor ETF)
- หุ้น Tesla พุ่ง +15% หลังผ่านเกณฑ์ความปลอดภัยด้านข้อมูลจากทางการจีน เป็นการบวกจากปัจจัยเฉพาะตัว ลบสถานะการเป็นตัวฉุดในหุ้นกลุ่ม Mag-7 XAM คาดหลังจากนี้งบ Amazon และ Apple น่าจะดีต่อเนื่อง แต่ Upside ระยะสั้นกลุ่ม Mag-7 อาจจะไม่ได้มากเท่าหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันที่ยัง Laggards ยกตัวอย่างเช่น หุ้นใน Supply Chain ของ NVIDIA อย่าง Memory Chip หรือ Design Chip อาจให้ Risk/Reward ที่ดีกว่า รวมถึงหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก AI Adoption ราคาอาจยังไม่ Fully Reflected คาดจะให้ Return ที่ดีเช่นกัน (Slightly Overweight Well Diversified Tech Fund มากกว่า Mag-7)
- เงินเฟ้อ CPI เยอรมันออกมาต่ำคาดสะท้อนยุโรปยังไม่มีปัจจัยกดดันการผ่อนคลายนโยบายการเงินโดย ECB ด้าน Soft Data เศรษฐกิจยุโรปทั้งด้าน สภาวะการทำธุรกิจ, ความเชื่อมั่นผู้บริโภคออกมาทรงตัวจากเดือนก่อนในเดือน เม.ย. ส่วนเซ็นติเมนต์เศรษฐกิจ, ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม, ความเชื่อมั่นภาคบริการ ออกมาต่ำกว่าคาด XAM มองเพิ่มเริ่มเห็นสัญญาณ Negative Surprise ใน Soft Data เศรษฐกิจยุโรป ซึ่งตราบเท่าที่ยังไม่เห็นสัญญาณเสี่ยงมองยังไม่กระทบบนคอนดิชั่นที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวพร้อมๆกับโอกาสที่ ECB จะลดดอกเบี้ยในปี 2024 (Slightly Overweight EU & DAX)
- ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นขยายตัวมากกว่าคาดในเดือน มี.ค. ในขณะที่ยอดค้าปลีกขยายตัวต่ำคาด XAM มองว่าแม้เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะดูดีขึ้นแต่ยังเป็นผลจากปัจจัยภายนอกทั้งการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมประกอบกับการท่องเที่ยว ในขณะที่กำลังการบริโภคในประเทศยังฟื้นตัวช้าๆ ทำให้ BOJ ค่อนข้างระมัดระวังในการทำ Policy Normalized และใช้ความอดทนในขณะที่เยนอยู่ในระดับต่ำมากที่ 156 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังก่อนหน้านี้อ่อนค่าไปถึงระดับ 160 ซึ่งทางการต้องการรักษาสเถียรภาพค่าเงินที่แถวระดับ 150 เยนต่อดอลลาร์ (Neutral Japan/APAC Alpha Fund KF-ORTFLEX)
- เช้านี้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตจีนออกมาดีกว่าคาดทั้งไฉซินและ NBS แม้ดัชนีภาคบริการยังขยายตัวต่ำคาด ด้านความเสี่ยงการเมืองระหว่างประเทศทางการจีนเตรียมขยายเวลาการยกเว้นภาษีสำหรับนำเข้าสินค้าสหรัฐในบางรายการจนถึงวันที่ 30 พ.ย. 2024 ถือเป็นการซื้อเวลาลดแรงกดดันการแยกห่วงโซ่อุปทานลงไปได้บางส่วนในระยะสั้น/กลาง ส่วน Financial Times คาดว่าคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) จะเรียกเก็บภาษี 15-30% เพื่อจำกัดการเข้ามาแบ่ง Market Share จาก EV Car สัญชาติจีนในยุโรป ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงสินค้ายุโรปที่เคยตีตลาดจีนมีโอกาสถูกตอบโต้ด้วยมาตรการทางภาษีเช่นเดียวกัน ด้าน China Government Bond ยีลด์เร่งตัวในช่วงที่ผ่านมาสะท้อนสถานการณ์ที่นักลงทุน Less Risk-Off จากความคาดหวังเศรษฐกิจจีนหลายภาคส่วนเริ่ม Bottoming-Out และค่อยๆฟื้นตัวแม้ยังมีแรงกดดันจากภาคอสังหาจีนที่ยังไม่ถึงจุดต่ำสุด (China Deleveraging Trend)/Over Allocated Investor Trim at HSCEI +/- 200 DMA switch to >>> EM/Asia/Greater China Alpha Fund (UOBSA, KWIASIANSM, UOBSGC), Slightly Overweight India (KT-INDIA))
- SET เผชิญแรงขาย DELTA หลังงบผิดหวัง ด้านหุ้นสื่อสารมีแรงซื้อเก็งกำไรก่อนงบออก จากคาดการณ์ Average Revenue Per User เติบโต ด้านเศรษฐกิจไทยคาดว่าการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณจะช่วยจำกัดดาวน์ไซด์ขาลง ส่วนยอดส่งออกไทยที่ยังอ่อนแอผลจากฐานที่สูงในปีก่อน (สินค้าที่ยอดหดตัวได้แก่ น้ำตาล มัน รถยนต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์) โดยหดตัวจากคู่ค้าประเทศญี่ปุ่น อาเซียน และจีน ในขณะที่ยอดส่งออกไปออสเตรเลียและสหรัฐยังขยายตัว ซึ่งภาพรวมเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี (Neutral Thai/Over Allocated Investor Trim at SET 1,440+)
- ยอดส่งออกเวียดนามโตเด่น โดยยอดปรับตัวขึ้น 10.6% ในเดือนเม.ย. เทียบรายปีนำโดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (บริษัทเกาหลีใต้และอื่นๆ) ดันให้ภาพรวม 4 เดือนแรกส่งออกโตถึงกว่า 15% เทียบปีก่อน โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 6.3% ซึ่ง World Bank คาด GDP เวียดนามจะโตได้ 5.5% ในปี 2024 XAM ยังมองเห็นโอกาสการเติบโตของเวียดนามในระยะยาว แม้ระยะสั้นยังผันผวนจากความเสี่ยงภายในและภายนอก (Neutral Vietnam)
|
|