เมื่อการเริ่มงานสำหรับเด็กจบใหม่ มาพร้อมกับการยื่นภาษี ซึ่งถ้าเป็น First Jobber ปีนี้ก็จะเป็นปีแรกที่มีรายได้ จึงต้องเริ่มคิดเรื่องการวางแผนภาษี หลายคนอาจสงสัยว่าต้องเสียภาษีอย่างไร เงินเดือนเท่าไหร่ถึงจะต้องเสียภาษี ลดหย่อนอย่างไรให้คุ้มที่สุด มาดูวิธีการวางแผนภาษีสไตล์ First Jobber ให้เป็นเรื่องง่ายกันดีกว่า - เงินเดือนเท่าไหร่ถึงต้องยื่นภาษี
สำหรับเด็กจบใหม่มีเงินเดือน หรือมีรายได้จากช่องทางอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเกิน 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000/ปี ต้องยื่นภาษี โดยยื่นแบบแสดงรายการเงินได้ปีละ 1 ครั้งตามที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้าเกณฑ์รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ก็ไม่ต้องเสียภาษี - ตัวอย่าง อัตราภาษีการคิดเงินจากรายได้บุคคลธรรมดา แบบขั้นบันได
เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท คิดภาษี = ไม่ต้องเสียภาษี (อัตราภาษี 0% หรือได้รับการยกเว้นภาษี) เงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาท คิดภาษี = (เงินได้สุทธิ – 150,000) x5% (อัตราภาษี 5%) เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท คิดภาษี = (เงินได้สุทธิ – 300,000) x10% (อัตราภาษี 10%) ดังนั้นสรุปสั้นๆ คือ สำหรับเด็กจบใหม่ที่รายได้ไม่เกิน 150,000/ปี ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี และหากมีเงินได้มากกว่านั้น ต้องเสียภาษีตามลำดับ สามารถนำเงินไปลงทุนในกองทุนรวม ประเภทลดหย่อนภาษีได้ เช่น กองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาว (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งทั้ง 2 กองทุนนี้ มีรายละเอียดและเงื่อนไขการซื้อขายที่แตกต่างกัน จึงต้องเลือกลงทุนให้เหมาะกับความต้องการ กองทุน SSF หรือ กองทุนรวมเพื่อการออม สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 30% ของรายได้ และไม่เกิน 200,000 บาท มีเงื่อนไข คือ ต้องลงทุนครบ 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ ไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำต่อปี และไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี จึงเหมาะกับคนที่ต้องการวางแผนระยะยาว อย่างน้อย 10 ปี กองทุน RMF หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของรายได้ และไม่เกิน 500,000 บาท มีเงื่อนไข คือ ต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปี นับแบบวันตรงวัน เดือนตรงเดือน และต้องลงทุนต่อเนื่องจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ถึงจะสามารถขายกองทุนนี้ได้ อาจจะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนเกษียณ ขั้นที่ 1 นำรายได้ทั้งปีมาหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าลดหย่อนต่าง ๆ เพื่อหาเงินได้สุทธิ สูตรคำนวณ คือ รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ ขั้นที่ 2 นำเงินได้สุทธิมาเทียบกับอัตราภาษีแบบขั้นบันได แล้วนำเงินได้สุทธิคูณกับอัตราภาษีแต่ละขั้นบันได เพื่อหาว่าเราต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ สูตรคำนวณ คือ เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี (ตามขั้นบันได) = เงินภาษีที่ต้องจ่าย สุดท้ายนี้ถึง First Jobber ทุกคนก็คงจะได้เข้าใจการยื่นภาษีเบื้องต้นกันแล้ว แม้จะรายละเอียดจะเยอะแต่ถ้าได้ศึกษาแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยาก และเพื่อเพิ่มผลประโยชน์สูงสุดให้ตัวเองได้ด้วย
|