ประเมินสุขภาพธุรกิจด้วยเทคนิค EBT, EBIT, และ EBITDA




ประเมินสุขภาพธุรกิจด้วยเทคนิค EBT, EBIT, และ EBITDA

ทุกบริษัทล้วนแล้วมีการจัดทำบัญชีเพื่อประเมินสุขภาพของธุรกิจและที่ขาดไม่ได้ คือ อัตราส่วนทางการเงิน ที่แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรและประสิทธิภาพของบริษัท ซึ่งก่อนนักลงทุนจะซื้อหุ้นก็ต้องศึกษาข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน อัตราส่วนทางการเงินจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญเพราะเป็นเครื่องมือการวิเคราะห์กิจการ เพื่อบอกถึงสถานะการเงิน และแนวโน้มในอนาคตของบริษัท ซึ่งอัตราส่วนทางการเงินที่ขาดไม่ได้ คือ EBT, EBIT และ EBITDA มาดูกันดีกว่าว่าแต่ละตัวต่างกันอย่างไร มีเทคนิคการใช้อย่างไร

  • แต่ละตัวใช้ยังไง มีความหมายอย่างไร มีเทคนิคช่วยจำดังนี้ 

ให้แยก EB (Earning Before) ที่มาจาก EBT, EBIT และ EBITDA หลังจากนั้นก็ดูว่าหลังตัว B คืออะไร มีความหมายว่าอะไร 

ตัว T คือ Taxes = ภาษีเงินได้  EBT จะมีความหมายว่า กำไรก่อนหักภาษีเงินได้

ตัว I คือ Interest = ดอกเบี้ย EBIT จะมีความหมายว่า กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี

ตัว D คือ Depreciation = ค่าเสื่อมราคา และ A หรือ Amortization = ค่าตัดจำหน่าย  EBITDA จะมีความหมายว่า กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 

  • EBT, EBIT, และ EBITDA คืออะไร?

EBT หรือ กำไรก่อนหักภาษีเงินได้ วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัท โดยรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ยกเว้นภาษีเงินได้ และเมื่อนำภาษีหารด้วยกำไรก่อนภาษี พบว่า EBT จะอยู่ที่ประมาณ 20% แต่จะน้อยกว่าหรือมากกว่าก็ได้ เนื่องจากการทำงบการเงินจะทำตามมาตรฐานบัญชี ส่วนภาษีจ่ายจะอิงตามเงินได้ของธุรกิจนั้น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบที่ไม่ตรงกัน ดังนั้น EBT จะแสดงให้เห็นภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัท โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบจากด้านภาษี

EBIT หรือ กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี จะแสดงให้เห็นถึงกำไรจากการดำเนินงานของธุรกิจที่เกิดจากการนำสินทรัพย์ไปลงทุนเพื่อสร้างรายได้หักด้วยต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ได้ผลตอบแทนในรูปแบบ กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรจากการดำเนินงานหลักของบริษัท

ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีหากการดูว่าบริษัทที่ดีควรมียอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ แต่ถึงอย่างนั้นอาจมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรขั้นต้น เช่น

- ความสามารถของบริษัท ในทุกบริษัทจะมีความสามารถในการแข่งขันการขายสินค้และบริการได้สม่ำเสมอ ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นเติบโตสม่ำเสมอ

- ราคาสินค้า หากขายสินค้าที่มีราคาขึ้นลงตามภาวะตลาด จะทำให้อัตรากำไรขั้นต้นผันผวนตามไปด้วย

- กำลังการผลิต บริษัทที่ใช้กำลังการผลิตเต็มกำลัง จะมีอัตรากำไรขั้นต้นในระดับสูง เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนการผลิต

EBITDA หรือ กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ซึ่งการมองกำไรจากการดำเนินธุรกิจในรูปเงินสด ทำให้เห็นสภาพคล่องของธุรกิจมากขึ้น เพราะค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย เป็นรายการที่ไม่ใช่เงินสด คือ การจ่ายไปตั้งแต่วันแรกนั่นเอง แต่ทางบัญชีจะให้ทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายตามอายุการใช้งาน บริษัทที่ดีควรมี EBITDA สูง โดยค่าเสื่อมของราคาและค่าตัดจำหน่ายสูงจะแสดงว่าบริษัทสามารถทำกำไรได้มากกว่าต้นทุนเฉลี่ยของสินทรัพย์ ขณะที่บริษัทที่มี EBITDA ต่ำ จะแสดงถึงการทำกำไรไม่คุ้มต้นทุนของสินทรัพย์ อาจทำให้เกิดการไม่สามารถนำสินทรัพย์ไปก่อให้เกิดรายได้ ตามแผนที่วางเอาไว้ 

  • การคำนวณ สมมติว่า บริษัท A มีข้อมูลทางการเงินดังนี้

รายได้ 500,000 บาท

ต้นทุนขาย 200,000 บาท

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 100,000 บาท

ค่าเสื่อมราคา 20,000 บาท ค่าตัดจำหน่าย 10,000 บาท

ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน 5,000 บาท รายได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน 3,000 บาท

EBT คิดเป็น 500,000 - 200,000 - 100,000 - 5,000 + 3,000 = 198,000 บาท 

EBIT คิดเป็น 500,000 - 200,000 - 100,000 = 200,000

EBITDA คิดเป็น 200,000 + 20,000 + 10,000 = 230,000

ดังนั้น อัตราส่วนทางการเงินอย่าง EBT, EBIT และ EBITDA จะแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรและประสิทธิภาพของบริษัทก่อนหักรายการต่าง ๆ ซึ่งอัตราส่วนตรงนี้จะเป็นเทคนิคทางเลือกให้กับนักลงทุน ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน และนำไปเปรียบเทียบกับบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันว่าบริษัทไหนจะมีโอกาสสร้างผลกำไรและมีประสิทธิภาพทางการเงินมากกว่า เพื่อเป็นโอกาสในการลงทุน สร้างผลตอบแทนและกระจายความเสี่ยง

อ้างอิง SET