รู้จัก LMTS (Liquidity Management Tools) เครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม




รู้จัก LMTS (Liquidity Management Tools) เครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม

กลไกบริหารความเสี่ยงกองทุนรวมด้วยเครื่องมือ LMTs 

เมื่อมูลค่าสินทรัพย์มีบทบาทสำคัญต่อสภาพคล่อง จึงต้องมีเครื่องมือสำคัญที่ผู้จัดการกองทุนใช้เพื่อบริหารจัดการสภาพคล่องของกองทุน ทำให้เกิด เครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม มาดูกันดีกว่าว่า LMTs คืออะไร มีการทำงานอย่างไร? 

  • เครื่องมือ LMTs คืออะไร?
LMTs (Liquidity Management Tools) เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม จัดทำขึ้นเพื่อช่วยคุ้มครองและปกป้องผลประโยชน์ให้กับผู้ลงทุน ลดโอกาสเกิดความเสี่ยง เพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุนในช่วงที่ตลาดการเงินของโลกเกิดความผันผวนอย่างรุนแรง เพราะสิ่งที่มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาผันผวนรุนแรงแบบนี้ คือ การตื่นตกใจของนักลงทุน ทำให้เกิดปริมาณการซื้อ/ขาย (Volume) ที่สูงและรวดเร็วผิดปกติ ส่งผลต่อการบริหารสภาพคล่อง และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (NAV) ได้



  • LMTs มีกลไกการทำงานอย่างไร? 
จำแนกตามวัตถุประสงค์ได้เป็น 2 หลักการ คือ 

1.กลุ่มที่ส่งผ่านต้นทุน 

เป็นเครื่องมือสำหรับนักลงทุนที่ต้องการทำธุรกรรมในช่วงนั้น เป็นกลุ่มที่ผู้ลงทุนเป็นผู้รับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของกองทุนรวม ซึ่งจะถูกเก็บจากค่าธรรมเนียมหรือ การปรับ NAV ต่อหน่วยลงทุน ซึ่งมีเครื่องมือที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มทางเลือก 3 เครื่องมือ ได้แก่
เครื่องมือที่ 1 Liquidity Fee การเก็บค่าธรรมเนียมเมื่อมีคำขอไถ่ถอนหน่วยลงทุนในช่วงเวลาที่กองทุนกำลังเผชิญกับปัญหาด้านสภาพคล่อง กองทุนจะเรียกเก็บ Liquidity Fee จากนักลงทุนที่ทำการไถ่ถอน

เครื่องมือที่ 2 Swing Pricing เครื่องมือที่มีการปรับ NAV ต่อหน่วยลงทุน เพื่อสะท้อนต้นทุนที่เกิดขึ้นในภาวะที่ตลาดมีความผันผวน เมื่อมีปริมาณซื้อขายเกินกว่าที่กำหนด เมื่อกองทุนจะปรับ NAV ต่อหน่วยลงทุนให้ลดลงเล็กน้อยด้วย Swing Factor เพื่อสะท้อนต้นทุนจากการขายหลักทรัพย์ ที่ 
เครื่องมือที่ 3 Anti-Dilution Levies (ADLs) การเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นจากผู้ถือหน่วยลงทุนในฝั่งผู้ซื้อ/สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเข้า หรือฝั่งผู้ขาย/สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออก และเพื่อสะท้อนต้นทุนในการปรับพอร์ตการลงทุนกองทุนรวมที่มีมูลค่าซื้อขายเกินกำหนด

2.กลุ่มลดหรือชะลอแรงซื้อขาย 

เป็นเครื่องมือที่เน้นการจำกัดการทำธุรกรรมของผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อชะลอความร้อนแรงโดยเฉพาะในสภาวะที่ตลาดมีความผันผวน จะช่วยให้กองทุนรวมมีเวลาในการบริหารทรัพย์สินในช่วงเวลาดังกล่าว และลดโอกาสการเกิดผลกระทบในวงกว้าง  ซึ่งมี 4 เครื่องมือ ได้แก่

เครื่องมือที่ 4 Notice Period เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้กองทุนรวมมีเวลาในการจัดเตรียมขายสินทรัพย์ได้อย่างเหมาะสม ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน และลดโอกาสเกิดการเร่งขายคืนหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออกอย่างรวดเร็ว ที่อาจส่งผลให้มูลค่าหน่วยลงทุนผันผวน 

เครื่องมือที่ 5 Redemption Gate (Gate Period) เป็นเครื่องมือที่ใช้เมื่อเกิดความผันผวนผิดปกติของตลาด โดย บลจ. จะสามารถกำหนดเพดานมูลค่าที่จะให้ผู้ลงทุนสามารถขายคืนหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออกรวมทั้งหมดได้ในแต่ละวันทำการของแต่ละกองทุนรวม 

เครื่องมือที่ 6 Side Pocket เป็นเครื่องมือที่มีการดำเนินการแยกทรัพย์สินที่ติดปัญหาเรื่องสภาพคล่องต่ำออกจากทรัพย์สินรวมของกองทุนรวม ซึ่งแปลว่าถ้าหากผู้ถือหน่วยลงทุนสั่งขายคืน จะได้รับเงินคืนเฉพาะส่วนที่ไม่ติดปัญหาด้านสภาพคล่อง แต่จะได้รับเงินอีกส่วนคืนในอนาคต 

เครื่องมือที่ 7 Suspension of Dealings เป็นเครื่องมือที่ใช้ในกรณีที่เกิดความผันผวนอย่างรุนแรงของตลาด อาจมีการประกาศระงับการซื้อขายหน่วยลงทุนชั่วคราว รวมไปถึงไม่รับคำสั่งซื้อขายรายการใหม่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม 

โดยเครื่องมือ LMTs จะช่วยป้องกันการเทขายลดผลกระทบจากการเทขายหน่วยลงทุนจำนวนมากในช่วงเวลาที่ตลาดผันผวน และที่สำคัญคือการช่วยรักษามูลค่าทรัพย์สินช่วยให้กองทุนสามารถรักษามูลค่าทรัพย์สินและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องได้ และส่งผลไปถึงผู้จัดการกองทุนสามารถบริหารจัดการกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

  • ทำความเข้าใจ LMTs เพิ่มเติมได้ที่ คลิก https://lmts.aimc.or.th/