ประเทศไทย ภายใต้เศรษฐกิจ”กำลังพัฒนา” ที่กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ระดับโลกเป็นคนแรก






ประเทศไทย ภายใต้เศรษฐกิจ”กำลังพัฒนา” ที่กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ระดับโลกเป็นคนแรก

หรือกล่าวในทำนองเดียวกันเป็นภาษาชาวบ้านได้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญภาวะ “แก่ก่อนรวย” หรือ “ลำบากตอนแก่” เป็นประเทศแรกของโลกการที่เราแก่ลงทุกวันก็นับว่าเป็นเรื่องแย่แล้ว แต่มันจะยิ่งแย่มากขึ้นหากแก่แล้วยังจนอยู่ ซึ่งนี่คือสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ กับการเป็นประเทศกำลังพัฒนา (developing country) ที่ต้องเผชิญปัญหาระดับโลกด้านประชากร ซึ่งมีสาเหตุจากการที่ประชาชนนิยมมีลูกน้อยลง (baby bust)อ้างอิงข้อมูลซึ่งเปิดเผยเมื่อเดือนก่อนโดยสหประชาชาติ พบว่าอัตราการเกิดของประชากรไทยลดลงมาต่ำสุดในระดับเดียวกันกับประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และฟินแลนด์ สองประเทศที่ถือว่าร่ำรวยมหาศาล ขณะที่ปัจจัยด้านอื่นๆของไทยนั้นไม่มีอะไรเหมือนกับสองประเทศนั้นเลยหนึ่งในตัวเลขที่น่าสนใจคือราว 25% ของประชากรชาวไทยจะมีอายุมากกว่า 60 ปีภายในปี 2030 (2573) และคนส่วนใหญ่ในกลุ่ม 25% นี้เป็นคนจน ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ประมาณการไว้ว่าการลดลงของประชากรวัยทำงานอย่างต่อเนื่องจะถ่วงให้เศรษฐกิจเติบโตช้าลงได้มากถึงเกือบ 1% ในอีก 20 ปีข้างหน้าปัญหาสังคมสูงวัยอย่างรวดเร็วซึ่งเกิดขึ้นในปัจจุบัน มักเกิดขึ้นกับประเทศที่ร่ำรวยมากๆ เนื่องจากอัตราการเกิดที่ลดลงมักจะสัมพันธ์และสอดคล้องกับรายได้ประชากรที่เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ดี จีนเป็นประเทศแรกที่ประสบปัญหานี้จากนโยบายลูกคนเดียวของจีนในอดีต ซึ่งอาจจะทำให้จีนประสบปัญหาการลดลงของประชากรในช่วงปี 2050 ได้ แต่ปัจจุบันก็ได้ถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อปี 2015 ที่ผ่านมา ในทางกลับกัน ประเทศไทยกำลังจะเป็นประเทศแรกที่กำลังจะเผชิญปัญหาประชากรแก่ตัวก่อนที่จะมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี


นาย Chua Hak Bin นักเศรษฐศาสตร์ที่ดูแลภาคพื้นอาเซียนของ Maybank Kim Eng Singapore กล่าวว่า “เห็นได้ชัดว่าสิ่งนี้กำลังจะเป็นปัญหาและความท้าทายของประเทศไทยอย่างแน่นอน” และ “ประเทศไทยกำลังติดอยู่ตรงกลางกับดักของประเทศกำลังพัฒนา ที่กำลังเจอปัญหาด้านประชากรเหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว”


หลายปีที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์และรัฐบาลได้คาดการณ์และวางแผนผิดมาโดยตลอด โดยคิดว่าการเพิ่มขึ้นของประชากรจะเป็นปัญหา ซึ่งแนวคิดนี้อาจจะถูกพิสูจน์แล้วว่าผิดในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา อัตราการเกิดของประชากรในทุกประเทศทั่วโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่ประชากรย้ายถิ่นฐานเข้ามาในเมืองมากขึ้น และประชากรเพศหญิงก็ได้รับการศึกษาและการคุมกำเนิดเพิ่มขึ้นด้วย โดยคิดว่าการมีลูกน้อยลงจะดีต่อครอบครัวและสิ่งแวดล้อม แต่ก็ไม่ได้คาดคิดว่าการมีลูกน้อยลงจะสร้างปัญหาทางเศรษฐกิจตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้บริโภคที่น้อยลง แรงงานที่น้อยลง คนจ่ายภาษีที่น้อยลง และการมีคนหนุ่มสาวที่จะเลี้ยงดูคนแก่เฒ่าที่น้อยลงด้วย


ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการขยายตัวของสังคมเมือง (Urbanization) รวดเร็วมาก และเป็นรองจากจีนเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้เองเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้อัตราการเกิดของประชากรลดลง แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลทั้งหมดที่ประชากรนิยมการมีครอบครัวที่เล็กลง เพราะต้องย้อนกลับไปถึงประมาณปี 1970 ที่ประเทศไทยมีนโยบายต่อต้านความจนด้วยการคุมกำเนิด ผ่านการรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัยสำหรับการคุมกำเนิด โดยนายมีชัย วีระไวทยะ จนต่อมาได้เรียกขานกันติดปากว่า “ถุงมีชัย”


และตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการเกิดของประชากรชาวไทยลดลงจาก 6.6% ต่อปี เหลือเพียง 2.2% ต่อปีเท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน อัตราการเกิดของประชากรชาวไทยลดลงมาอยู่ที่เพียง 1.5% อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเติบโตของประชากรต่ำที่สุดในโลก ต่ำกว่าประเทศจีนที่อยู่ที่ 1.7% และมีอัตราที่ต่ำกว่า 2.1% ซึ่งเป็นอัตราที่จะทำให้จำนวนประชากรคงที่ได้ในระยะยาวด้วย จากอัตราการเกิดของประชากรที่ต่ำเช่นนี้ ทำให้สหประชาชาติคาดการณ์ว่าประชากรราว 70 ล้านคนของไทยในวันนี้จะลดลงเหลือเพียง 2 ใน 3 เท่านั้น เมื่อสิ้นสุดศตวรรษนี้ หรือภายในปี 2100


“ฉันไม่ต้องการที่จะมีลูกหลายคนถ้าไม่สามารถมั่นใจได้ว่าจะให้คุณภาพชีวิตที่ดีแก่เขาได้” ผู้จัดการฝ่ายบัญชีซึ่งมีอายุ 28 ปี ของบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่งในกรุงเทพได้ให้สัมภาษณ์ไว้Shripad Tuljapurkar นักวิเคราะห์ประชากรของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวว่า “ประเทศไทยไม่มีเวลามากนักในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องหาทางเพิ่มผลิตภาพของแรงงานให้ได้มากกว่านี้ มิฉะนั้นจำนวนแรงงานที่น้อยลงจะไม่สามารถเลี้ยงดูผู้แก่ชราและผู้เกษียณอายุได้ โดยตัวเลขจะพุ่งสูงขึ้นอย่างมากในปี 2030 นี้


ถ้าประเทศไทยไม่สามารถฉวยโอกาสครั้งนี้ได้ ทุกอย่างจะยิ่งดูแย่ไปกว่านี้อีกมาก เขากล่าวเสริม


และปัญหาคือการรัฐประหารถึงสองครั้งนับตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมาก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสังคมผู้สูงอายุนี้มากนัก ขณะที่รัฐบาลที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งใหม่เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาก็เป็นรัฐบาลผสมที่ไม่มีเสถียรภาพในการดำเนินการเรื่องนี้สักเท่าไรด้วย


อย่างไรก็ดี แนวทางการแก้ปัญหาทางหนึ่ง คือ การเปิดเสรีคนเข้าเมือง หรือเปิดเสรีการย้ายถิ่นฐานประชากรจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประเทศไทยไม่ได้มีทัศนคติหรือค่านิยมที่ไม่ดีต่อเรื่องนี้เหมือนประเทศเกาหลีใต้หรือญี่ปุ่น โดยปัจจุบันแรงงานต่างชาติคิดเป็นสัดส่วนถึง 10% ของแรงงานในประเทศไทยทั้งหมด และสัดส่วนที่สูงกว่าในบริษัทขนาดใหญ่


นายภาคภูมิ ศรีชำนิ ประธานกรรมการของ บมจ.ชิโนไทย บริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ที่มีแรงงานกว่า 10,000 คน ที่กว่า 3,000 คนไม่ใช่คนไทย กล่าวว่า “แรงงานต่างชาติมีความต้องการเข้ามาทำงานอย่างมาก”


และที่ดูแย่ไปกว่านั้น คือประเทศไทยได้กลายเป็นกลุ่มประเทศล้าหลังทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแล้ว โดยมีอัตราการเติบโตของจีดีพีที่ลดลงโดยเฉลี่ยในทุกทศวรรศที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 1990 จากระดับเฉลี่ยที่ 5.3% เหลือ 4.3% และเหลือเพียงประมาณ 3 - 4% ในตอนนี้ โดยในไตรมาสแรกที่ผ่านมา จีดีพีไทยเติบโตเพียง 2.8% ต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี และด้วยอัตราเงินเฟ้อต่ำเพียงไม่ถึง 1% อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำมากไม่ถึง 2% ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้รูปร่างหน้าตาของเศรษฐกิจไทยเหมือนกับประเทศญี่ปุ่นในอดีตมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย หรือ ฟิลิปปินส์


การอัดฉีดงบประมาณด้านการแพทย์และสาธารณสุขยิ่งเป็นเรื่องยากขึ้นเรื่อยๆสำหรับประเทศไทย ประเทศซึ่งมีระดับรายได้ต่อหัวประชากรที่ต่ำมากเพียงปีละ 6,362 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือไม่ถึง 200,000 บาท ขณะที่ประเทศที่มีอัตราการเกิดของประชากรต่ำมากเหมือนประเทศไทย เช่น สวิสเซอร์แลนด์ และฟินแลนด์ กลับมีระดับรายได้ต่อหัวประชากรสูงถึงประมาณ 78,816 ดอลล่าร์สหรัฐ (2.44 ล้านบาท) และ 48,580 ดอลล่าร์สหรัฐ (1.5 ล้านบาท) หรือสูงกว่าประเทศไทยถึงราว 7 – 12 เท่าเลยทีเดียว ซึ่งงบประมาณด้านการแพทย์และสาธารณสุขของไทยนั้นเพิ่มขึ้นในอัตรา 12% ต่อปีในระยะ 12 ปีที่ผ่านมา และปัจจุบัน