XAM Weekly / 6-10 Nov 2023


แนวโน้มใหญ่รายสัปดาห์

คาด High-Beta US Stock Rebound ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

แนวโน้มสัปดาห์นี้

  • สัปดาห์นี้มีประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญคือตัวเลขการขอรับสวัสดิการครั้งแรกคืนวันพฤหัสซึ่งคาดว่าจะไม่ได้กดดันตลาดเพิ่มเติม (+) ตัวเลขเงินเฟ้อคาดการณ์ 5 ปีข้างหน้าโดยคาดว่าจะออกมาที่ 3% รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในคืนวันศุกร์ โดยรวมมองตลาดจะบวกในภาพรวม 5 วันทำการข้างหน้า แต่อาจมีแรงเทขายสลับบ้าง หลังบวกติดกันมา 5 วันในสัปดาห์ที่แล้ว (+) 
  • มองเป็นโอกาสขายทำกำไร/ขายลดสัดส่วนใน 5-15 วันทำการต่อจากนี้ เพื่อตั้งรับสำหรับความเสี่ยงในการปรับฐานในระยะถัดไป ) หากตลาดเริ่มรับรู้ปัจจัยลบจากตัวเลขเศรษฐกิจช่วงปลายเดือน พ.ย. (-) 

Weekly Focus

  • ยีลด์พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (US 10Y Yield) ที่อ่อนตัวลงอย่างมากในสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นฟันเฟืองหลักที่ขับเคลื่อนให้ตลาดเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) ซึ่งปัจจัยที่จะสนับสนุนให้ตลาดปรับขึ้นได้ต่อเนื่องจะเกิดจากการที่เศรษฐกิจเริ่มต่ำคาด (Negative Surprise) แต่ก็ไม่ได้แย่ลงเร็วแรงจนเกินไป จนคนไปกังวลความเสี่ยงใหม่คือความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัวลงแรง (-) บนเงื่อนไขความเสี่ยงทางการเมืองโลกที่ไม่ได้คุกกรุ่นมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ) 
  • GDP ยุโรป Q3 23 เทียบรายไตรมาสหดตัวที่ -0.1% (Exp. 0%) เทียบรายปีขยายตัวต่ำคาดที่ 0.1% (Exp. 0.2%) เงินเฟ้อยุโรปเทียบรายเดือนในเดือน ต.ค. ขยายตัว 0.1% น้อยกว่าเดือน ก.ย. ที่ขยายตัว 0.3% ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมยุโรปหดตัวน้อยกว่าคาดในเดือน ก.ย. รวมถึงความเชื่อมั่นภาคบริการยุโรปออกมาดีกว่าคาด (+) ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเกาหลีใต้ดีกว่าคาด (+) มีเพียงดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นรายเดือนน้อยกว่าคาด (-) รวมถึงยอดค้าปลีกใหญ่ญี่ปุ่นเทียบรายเดือน ในเดือน ก.ย. เริ่มออกมาหดตัว (-) แต่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่นออกมาดีกว่าคาดในเดือน ต.ค. (+) ภาพรวมสะท้อนเศรษฐกิจประเทศใหญ่นอกสหรัฐสัญญาณเศรษฐกิจยังออกมาผสมผสาน (Mixed) 
  • แบงค์ชาติญี่ปุ่น (BOJ) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และให้ขยายกรอบ Yield Curve Control ซึ่งเป็นการยืดหยุ่น Japan 10Y Yield ให้ปรับตัวสูงขึ้นใกล้ 1% และมีโอกาสเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งรวมถึงการที่ญี่ปุ่นประกาศจะกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ซึ่งหากญี่ปุ่นดำเนินนโยบายการคลังควบคู่ไปด้วยจะเพิ่มการรักษาเสถียรภาพให้เกิดเงินเฟ้ออ่อนๆในระยะข้างหน้า และเพิ่มความหวังในการหลุดออกจากเงินฝืดอย่างถาวร ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะทำให้ Japan 10Y Yield ค่อยๆเร่งตัวขึ้น มองว่าหุ้นกลุ่ม Bank และ Value Stock จะน่าสนใจใน Cycle นี้ของญี่ปุ่น (+) 
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตจีนเดือน ต.ค.โดย NBS ออกมาต่ำคาดที่ 49.5 (Exp. 50.2) เช่นกันกับ Caixin ที่ 49.5 (Exp. 50. ด้านดัชนีภาคบริการ NBS ออกมาต่ำคาดที่ 50.6 (Exp. Exp. 51. โดย Caixin PMI ภาคบริการขยายตัวมาที่ 50.4 จากเดือนก.ย.ที่ 50.2 สะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจจีนยังออกมาต่ำกว่าคาด (Negative Surprise) ยังขาดแรงสนับสนุนให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่อง (-) 
  • ปัจจัยที่ทำให้ US 10Y Yield อ่อนตัวเริ่มต้นในคืนวันพุธที่ 1 พ.ย. โดยการจ้างงานภาคเอกชน ADP เพิ่มขึ้นเพียง 113,000 ตำแหน่ง (Exp. 150,000) รวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ISM ภาคการผลิตหดตัวมากกว่าคาดที่ 46.7 (Exp. 49) แม้การเปิดรับสมัครงาน JOLTs จะมากกว่าคาดที่ 9.55 ล้านตำแหน่งในเดือน ก.ย. (Exp. 9.25) แต่ตลาดให้ความสำคัญกับตัวเลขการจ้างงานจริง ส่วน Fed คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25-5.50% และไม่ได้แถลงในลักษณะให้ความสำคัญกับการปราบเงินเฟ้อมากกว่าความเป็นห่วงต่อตลาดแรงงาน ซึ่งถ้อยแถลงในลักษณะบาลานซ์ทำให้ตลาดตีความในเชิง Less-Hawkish หรือลดแรงกดดันในการขึ้นดอกเบี้ย (+) 
  • ตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐมากกว่าคาดเล็กน้อยที่ 217,000 ตำแหน่ง (Exp. 210,000) ในคืนวันพฤหัส ส่วนตัวเลขในวันศุกร์ลดแรงกดดันจาก Fed ทั้งหมด โดยเงินเฟ้อค่าจ้างรายชั่วโมงเทียบรายเดือนในเดือน ต.ค.เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดที่ 0.2% (Exp. 0.3%) การจ้างงานนอกภาคเกษตรออกมาที่ 150,000 ตำแหน่ง (Exp. 180,000) อัตราการว่างงานในเดือน ต.ค. มากกว่าคาดที่ 3.9% (Exp. 3.8%) ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ISM เดือน ต.ค. ออกมาต่ำคาดที่ 51.8 (Exp. 53) (+)

กลยุทธ์การลงทุน

  • Overweight หุ้น Large-Cap Growth สหรัฐ (Ex Tesla, NVIDIA) มีโอกาสสะสมลงทุนในระยะสั้นหลังราคาปรับตัวลงมาในช่วงก่อนหน้านี้
  • Overweight หุ้นไทย Mid-Small Cap Stock มีโอกาสสำหรับกองทุนที่เลือกหุ้น Super Stock คาดโมเมนตั้มกำไร Q3 2023 ยังน่าจะดี และคาดธุรกิจที่เกี่ยวกับภาคบริการยังเติบโตดี นอกจากนี้ยังชอบกองไทย Healthcare มองว่ายังเป็นภาคส่วนที่เป็น Growth Engine สำคัญของไทย
  • Overweight Japan Value Stock 
  • Slightly Overweight หุ้นสหรัฐ Small-Cap Growth มีโอกาสฟื้นตัว
  • Slightly Overweight หุ้น Semiconductor ทยอยสะสมลงทุน

คำแนะนำ

  • ASP-NGF, TMBJPNAE หุ้นญี่ปุ่น
  • TMBINDAE, SCBKEQTG อินเดีย & เกาหลีใต้
  • SCBPGF หุ้นโลก Value, UGD หุ้นกลางเล็ก Durable
  • K-GHEALTH หุ้น Healthcare, ONE-HOSPITAL หุ้นไทยและหุ้นโลก Healthcare
  • ABAGS หุ้นขนาดกลางเล็กสหรัฐ Blended Character
  • ASP-SME, ABSM, ASP-T12, M-MIDSMALL, TLMSEQ เป็นกองหุ้นไทย Alpha 
  • TMB-ES-GCG, K-GTECH
  • SCBUSAA รับ 4.5 บาท, KF-US รับ 11.1 บาท, SCBROBOA รับ 13.4 บาท
  • เก็งกำไร M-META ที่ราคา METV ETF 9.5-9.6$ , TMB-ES-GINNO ที่ราคา ARKK ETF 38-39$ และ LHSEMI ที่ราคา SOXX ETF 450-470$

XSpring AM

Source: Bloomberg, Reuter

ดาวน์โหลดไฟล์