XAM Weekly 25-29 Sep 2023


แนวโน้มใหญ่รายสัปดาห์

คาดตลาด Rebound (+)

แนวโน้มสัปดาห์นี้

  • คาดหุ้นเติบโต (Growth Stock) สหรัฐ มีโอกาสฟื้นตัวหลังราคาปรับตัวลงมามากในสัปดาห์ที่ผ่านมา จากการรับรู้ปัจจัยลบหลัง Fed Dot-Plot ออกมาสูงกว่าข้อมูลครั้งก่อนมาก ทำให้ตลาดรับรู้ปัจจัย Higher-For-Longer เข้าไปในราคาหุ้นเติบโตค่อนข้างมากแล้ว รวมถึงมี Catalyst เชิงลบเรื่อง Government Shut-down เข้ามากดดันแรงเทขายเพิ่มเติม ซึ่งที่จริง XSpring AM มองว่าหากเกิด Government Shut-down จะเร่งให้อัตราการว่างงานเริ่มแย่ลง ซึ่งจะช่วยลดความคาดหวังภาคการจ้างงานและความคาดหวังเศรษฐกิจในระยะถัดไป ทำให้กลับมาดีกับตลาดหุ้นในระยะสั้น โดยเฉพาะ High-Beta Growth Stock (+)
  • มีประกาศ GDP สหรัฐสัปดาห์นี้ คาดตลาดจะไม่ตอบรับเชิงลบเพิ่มเติม คาดว่าจะเป็นสัปดาห์แห่งการฟื้นตัวของสินทรัพย์เสี่ยง (Rebound) (+)

Weekly Focus

  • เงินเฟ้อ Core CPI ยุโรปเดือน ส.ค. เทียบรายเดือนออกมาที่ 0.5% (Exp. 0.6%) แรงกดดันเงินเฟ้อลดลงมากกว่าคาด (+)
  • ตัวเลขการส่งออกญี่ปุ่นเดือน ส.ค. เทียบรายเดือนออกมาที่ -0.8% (Exp. 1.7%) การส่งออกหดตัวน้อยกว่าคาด (+) 
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.45% ตามคาด)
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25-5% ตามคาด แต่ Fed Dot-Plot หรือคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายออกมาสูงกว่าที่คาดมาก รวมถึงคาดการณ์ช่วงเวลาที่ Fed จะเริ่มลดดอกเบี้ยอาจเป็นช่วงครึ่งหลังของปี 2024 ไปแล้ว ทำให้ตลาดได้รับแรงกดดันสถานการณ์ดอกเบี้ยคงตัวในโซนสูง (Higher-For-Longer) (-)
  • ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25% หลังนักวิเคราะห์คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย (Exp. +0.25%) เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญอย่างเงินเฟ้อและยอดค้าปลีกออกมาต่ำกว่าคาด (+)
การขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐออกมาที่ 201,000 ตำแหน่ง (Exp. 225,000 ตำแหน่ง) แรงกดดันตลาดงานที่ยังแข็งแกร่งกว่าคาดส่งผลกดดันตลาดหุ้นสหรัฐ (-)
  • ผลสำรวจดัชนีภาคการผลิตโดย Fed ฟิลาเดเฟียเดือน ก.ย. ออกมาที่ ▪13.5 (Exp. -0.7%) สะท้อนสัญญาณเศรษฐกิจภาคการผลิตสหรัฐชะลอตัวลง (-)
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% ตามคาดหลังเงินเฟ้อญี่ปุ่นออกมาใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ ค่าเงินเยนกลับมาอ่อนค่า หลังแข็งค่าขึ้นไปเล็กน้อย ช่วงก่อนการตัดสินใจนโยบายการเงินในวันศุกร์ที่ผ่านมา)
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เยอรมันออกมาหดตัวน้อยกว่าคาดทั้งภาคบริการและภาคการผลิต (+) , PMI ยุโรปภาคการผลิตออกมาที่ 43.4 (Exp. 44.0) ส่วน PMI ภาคบริการออกมาที่ 48.4 (Exp. 47.7) PMI รวมออกมาหดตัวน้อยกว่าคาด (+)
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สหรัฐภาคการผลิตออกมาหดตัวน้อยกว่าคาดที่ 48.9 (Exp. 48) (+) ด้าน PMI ภาคบริการสหรัฐขยายตัวน้อยกว่าคาดที่ 50.2 (Exp. 50.6) มองการที่เศรษฐกิจภาคบริการสหรัฐยังขยายตัวแต่ในอัตราที่ร้อนแรงลดลงดีกับตลาด (+)


กลยุทธ์การลงทุน

  • Overweight หุ้นไทย Mid-Small Cap Stock มีโอกาสสำหรับกองทุนที่เลือกหุ้น Super Stock ที่มีโอกาสการเติบโตที่ดีในระยะสั้นและระยะกลาง
  • Overweight หุ้นเอเชียมากกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วสำหรับการลงทุนในระยะกลาง ดอลลาร์อ่อนสนับสนุนหุ้น Growth ภูมิภาคตลาดเกิดใหม่ (EM)
  • Overweight หุ้นอินเดียเห็นแนวโน้มราคาปรับตัวขึ้นได้ดี
  • Overweight หุ้นสหรัฐ Small Cap Growth มีโอกาสฟื้นตัว
  • Slightly Overweight หุ้น Semiconductor ทยอยสะสมลงทุน
  • Slightly Overweight หุ้น Large-Cap Growth สหรัฐมีโอกาสสะสมลงทุนในระยะกลาง หลังราคาปรับตัวลงมาในช่วงก่อนหน้านี้

คำแนะนำ

  • KFHASIA, M-EM Asia/EM Tech
  • ASP-NGF, TMBJPNAE หุ้นญี่ปุ่น
  • TMBINDAE, SCBKEQTG อินเดีย & เกาหลีใต้
  • SCBPGF หุ้นโลก Value, UGD หุ้นกลางเล็ก Durable
  • K-GHEALTH หุ้น Healthcare, ONE-HOSPITAL หุ้นไทยและหุ้นโลก Healthcare
  • ABAGS หุ้นขนาดกลางเล็กสหรัฐ Blended Character
  • ASP-SME, ABSM, ASP-T12, M-MIDSMALL, TLMSEQ เป็นกองหุ้นไทย Alpha 
  •  SCBUSAA รับ 4.6 บาท, KF-US รับ 11.7 บาท, SCBROBOA รับ 13.7 บาท
  • เก็งกำไร M-META ที่ราคา METV ETF 9.5-9.8$ , TMB-ES-GINNO ที่ราคา ARKK ETF 40-42$ และ LHSEMI ที่ราคา SOXX ETF 450-470$

XSpring AM

Source: Bloomberg, Reuter

ดาวน์โหลดไฟล์