XAM Weekly / 24-27 Oct 2023


แนวโน้มใหญ่รายสัปดาห์

  • Rebound คาดหุ้น US Large-Cap Ex High Vol นำตลาดบวก (+) 

แนวโน้มสัปดาห์นี้

  •  XSpring AM มองว่าตลาดจะตอบรับเชิงบวกกับหุ้น Quality/Growth ที่เงินสดเยอะ, หนี้น้อย และ Forward PE สมเหตุสมผล (+) โดยที่ผ่านมาหุ้น Software As A Services งบออกมาค่อนข้างดี เช่น SAP บวกสวนตลาดได้ดีในสัปดาห์ที่ผ่านมา (+) ทำให้ XSpring AM ยังชอบหุ้นใหญ่ตัวอย่างเช่น Alphabet, Amazon, Microsoft (+) มองว่ายีลด์ที่เริ่มอ่อนตัวลงในคืนวันจันทร์จะทำให้ตลาดกลับมา Risk-On มากขึ้น (+) ซึ่งจะทำให้ตลาดกลับมาเทรดบนผลประกอบการ คาดว่าจะทำให้หุ้นกลุ่มที่ XSpring AM ชอบ ยังให้ Risk/Reward ที่ดีกว่าตลาด (+)
  • Buy-On-Dip Japan Value Stock (+)
  • Buy-On-Dip Alpha Fund หุ้นไทย ซื้อเมื่อย่อ (+) เชื่อว่าหุ้นที่ Earning Momentum ดีแต่ราคาลงมาเยอะจะกลับมาทำผลตอบแทนในระยะ 1-3 เดือนข้างหน้าดี (+) โดยเฉพาะยีลด์ที่เริ่มอ่อนตัว คาดว่าจะทำให้หุ้นไทยฟื้นตัวได้ในสัปดาห์นี้ (+)

Weekly Focus

  • ยีลด์พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเร่งตัวขึ้นแตะระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ใกล้ 5% กดดันตลาด 6 คืนที่ผ่านมา (-) ซึ่งมองว่า ณ ยีลด์ระดับปัจจุบัน เหลือ Upside Risk อีกไม่เยอะ (5.1-5.3%) (+) ซึ่งหากว่ายีลด์คงตัวในโซนสูงที่ระดับ 4.7-5.3% อาจทำให้เฟดไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยในสัปดาห์หน้า และเป็นไปได้ที่อาจไม่ต้องขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติมในเดือน ธ.ค. (+) แม้ประธานเฟดคุณเจอโรม พาวเวลจะกล่าวแสดงความเห็นเปิดกว้างโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยในครั้งถัดไป เพื่อจัดการความคาดหวังเงินเฟ้อและสถานการณ์ที่เศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่ง ในขณะที่เงินเฟ้อยังคงตัวในระดับสูงกว่าเงินเฟ้อเป้าหมาย (-)
  • ภาพรวมการประกาศงบหุ้นสหรัฐ(S&P 500) ถือว่าขนาดของการ Positive Surprise ของกำไรต่อหุ้นค่อนข้างสูง (+) แต่ตลาดไปให้ความสำคัญกับความเสี่ยงมากกว่าข่าวดี (-) เช่น Chip Act 2.0 กดดันเซ็นติเมนต์เชิงลบหุ้น NVIDIA และกลุ่มชิป ส่วนหุ้น Tesla ปรับตัวลงแรงหลังแนวโน้มการส่งมอบรถน้อยลงและกำไรบางลง จากการสู้ศึก EV Car จากค่ายจีนตามที่เราคาดไว้ว่าให้ระมัดระวังหุ้น NVIDIA, Tesla (-) 
  • ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเดือน ส.ค. เทียบรายเดือนหดตัวกว่าคาดที่ -0.7% (Exp. 0%) วันจันทร์ที่แล้ว สะท้อนภาคการผลิตญี่ปุ่นเริ่มชะลอลง ในขณะที่ตัวเลขการส่งออกในเดือน ก.ย. เทียบรายปีขยายตัวมากกว่าคาดที่ 4.3% (Exp. 3.1%) เมื่อวันพุธที่แล้ว 
  • ดัชนีสำรวจแนวโน้มเศรษฐกิจ ZEW Survey ยุโรปในเดือน ต.ค. ออกมาดีกว่าคาดที่ 2.3 (Exp. -8) วันอังคารที่แล้ว สะท้อนเศรษฐกิจยุโรปเริ่มเห็นทิศทางที่ดีขึ้น (+)
  • ยอดค้าปลีกสหรัฐเดือน ก.ย. เทียบรายเดือนขยายตัว 0.7% (Exp. 0.3%) ซึ่งรวมถึงการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐออกมาขยายตัวที่ 0.3% (Exp. 0%) สะท้อนเศรษฐกิจสหรัฐยังแกร่งมาก ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อบอนด์ยีลด์นับตั้งแต่คืนวันอังคารสัปดาห์ก่อน (-)
  • GDP จีน Q3 2023 เดือน ก.ย. เทียบรายไตรมาสขยายตัวดีกว่าคาดที่ 1.3% (Exp. 1%) เมื่อเทียบรายปีขยายตัวที่ 4.9% (Exp. 4.4%) ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวที่ 4.5% (Exp. 4.3%) และยอดค้าปลีกขยายตัวที่ 5.5% (Exp. 4.9%) มีเพียงการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่ออกมาต่ำกว่าคาดเล็กน้อยที่ 3.1% (Exp. 3.2%) จากการลงทุนในภาคอสังหาที่ยังชะลอตัวลงและเป็นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจีนในระยะยาว ราคาบ้านในจีนเทียบรายเดือนหดตัวที่ -0.1% ต่อเนื่องจากเดือนก่อน ทางแบงค์ชาติจีนมีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.45% ) ทาง XSpring AM มองว่าทางการจีนรับรู้และเข้าใจความเสี่ยงและต้องการลด Supply ที่จะออกมาเพิ่มของภาคอสังหา, เพิ่ม Real Demand ในระยะถัดไป รวมถึงเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในโครงสร้างพื้นฐานในจีน, Public Space รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวในจีนมากขึ้น ซึ่งรวมถึงการลดผลกระทบจากหนี้ภาคอสังหาและลดสัดส่วนหนี้ภาคเอกชนทั้งหนี้ในภาคธนาคารและนอกภาคธนาคาร ทำให้ Financial Asset หรือหุ้นและสินทรัพย์ลงทุนในจีนต้องใช้ความมั่นใจของตลาดอีกซักระยะ ) ถึงจะค่อยๆกลับมา โดยเฉพาะเมื่อจีนดูดีโดยเปรียบเทียบกับประเทศใหญ่ประเทศอื่น ในขณะที่ Real Sector นอกภาคอสังหาเริ่มกลับมาแล้ว (+) 
  • สต๊อกน้ำมันดิบ EIA ลดลงกว่า 4 ล้านบาร์เรลในรอบสัปดาห์ก่อนหน้าที่จะประกาศเมื่อคืนวันพุธที่แล้ว มองว่าหากเศรษฐกิจประเทศใหญ่นอกประเทศสหรัฐเป็น Soft-Landing/ Mild Recession รวมถึงเศรษฐกิจจีนดีกว่าคาด (Positive Surprise) บนสงครามในตะวันออกกลางที่ไม่ได้ดีขึ้นกว่าตอนนี้ คาดว่าราคาน้ำมันดิบ WTI มีโอกาสคงตัวในโซนสูงกว่าในปัจจุบัน (+) 
  • การขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐรายสัปดาห์ที่ประกาศเมื่อวันพฤหัสที่แล้วออกมาน้อยกว่าคาดที่ 198,000 คน (Exp. 212,000) (-) ซึ่งรวมถึงถ้อยแถลงคุณพาวเวลล์ที่ยังเปิดช่องการขึ้นดอกเบี้ย เพื่อกัน Inflation Upside Risk เป็นตัวกดดันโมเมนตั้มตลาดต่อเนื่องเป็นคืนที่สามในสัปดาห์ที่แล้ว (-)

กลยุทธ์การลงทุน

  • Overweight หุ้น Large-Cap Growth สหรัฐ (Ex Tesla, NVIDIA) มีโอกาสสะสมลงทุนในระยะสั้นหลังราคาปรับตัวลงมาในช่วงก่อนหน้านี้
  • Overweight หุ้นไทย Mid-Small Cap Stock มีโอกาสสำหรับกองทุนที่เลือกหุ้น Super Stock คาดโมเมนตั้มกำไร Q3 2023 ยังน่าจะดี และคาดธุรกิจที่เกี่ยวกับภาคบริการยังเติบโตดี นอกจากนี้ยังชองกองไทย Healthcare มองว่ายังเป็นภาคส่วนที่เป็น Growth Engine สำคัญของไทย
  • Overweight Japan Value Stock 
  • Slightly Overweight หุ้นสหรัฐ Small-Cap Growth มีโอกาสฟื้นตัว
  • Slightly Overweight หุ้น Semiconductor ทยอยสะสมลงทุน

คำแนะนำ

  • ASP-NGF, TMBJPNAE หุ้นญี่ปุ่น
  • TMBINDAE, SCBKEQTG อินเดีย & เกาหลีใต้
  • SCBPGF หุ้นโลก Value, UGD หุ้นกลางเล็ก Durable
  • K-GHEALTH หุ้น Healthcare, ONE-HOSPITAL หุ้นไทยและหุ้นโลก Healthcare
  • ABAGS หุ้นขนาดกลางเล็กสหรัฐ Blended Character
  • ASP-SME, ABSM, ASP-T12, M-MIDSMALL, TLMSEQ เป็นกองหุ้นไทย Alpha 
  • TMB-ES-GCG, K-GTECH
  • SCBUSAA รับ 4.5 บาท, KF-US รับ 11.1 บาท, SCBROBOA รับ 13.4 บาท
  • เก็งกำไร M-META ที่ราคา METV ETF 9.5-9.6$ , TMB-ES-GINNO ที่ราคา ARKK ETF 38-39$ และ LHSEMI ที่ราคา SOXX ETF 450-470$

XSpring AM

Source: Bloomberg, Reuter

ดาวน์โหลดไฟล์