XAM Weekly / 15-19 Jan 2024




แนวโน้มใหญ่รายสัปดาห์

  • S&P 500 Healthcare (Defensive) Outperformed คาดสัปดาห์นี้หุ้นสหรัฐแกว่งตัวแคบก่อนอีกสองสัปดาห์เริ่มประกาศงบ Magnificent-7

แนวโน้มสัปดาห์นี้

  • นักลงทุนตอบรับเชิงบวกกับหุ้น Defensive เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากราคาปรับขึ้นมาช้ากว่า (Laggards) โดยที่ Valuation ถูกกว่าดัชนี ในช่วงที่ US 10Y Yield เร่งตัวขึ้นจากระดับ 3.8% มาปิดเหนือ 4% ใน 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา 
  • หุ้น Nikkei 225 ปรับตัวขึ้นแรงและเร็วเซอร์ไพรส์ตลาด คล้ายสถานการณ์ช่วง Q2 23 จากการที่เงินเฟ้อญี่ปุ่นและค่าจ้างปรับด้วยเงินเฟ้อที่ยังต่ำคาด ลดแรงกดดันการกลับทิศนโยบายการเงิน จึงทำให้หุ้นญี่ปุ่นยังมีนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายสุดขีด และน่าสนใจโดยเปรียบเทียบในช่วงที่เงินเฟ้อค่าจ้างแรงงานและเงินเฟ้อสหรัฐเริ่มตึงตัวในระยะสั้น (+) 
  • XSpring AM ยังมองว่าหากผ่านช่วงปรับสมดุล US 10Y Yield ไปได้หุ้นกลุ่มวัฏจักรและหุ้นขนาดกลางเล็กที่ปรับตัวขึ้นมาช้ากว่า Magnificent-7 จะเป็นกลุ่มการลงทุนที่น่าสนใจบน Best Case และ Base Case Scenario ใน H1 24 รวมถึงยังมองเห็นความน่าสนใจในหุ้นญี่ปุ่น Topix Value และหุ้นยุโรป Small-Cap ที่เป็นกลุ่ม Laggards (+) 

Weekly Focus

  • เงินเฟ้อ CPI สหรัฐเทียบรายเดือนในเดือน ธ.ค. ออกมามากกว่าคาดที่ 0.3% (Exp. 0.2%) ด้าน Core CPI ออกมาตามคาดที่ 0.3%  ส่วน CPI เทียบรายปีมากกว่าคาดที่ 3.4% (Exp. 3.2%) และ Core CPI เทียบรายปีมากกว่าคาดที่ 3.9% (Exp. 3.8%) ด้านตลาดแรงงานสหรัฐยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐต่ำคาดที่ 202,000 ตำแหน่ง (Exp. 210,000) ในขณะที่เงินเฟ้อผู้ผลิต PPI ออกมาน้อยกว่าคาดโดยเงินเฟ้อ PPI เทียบรายเดือนในเดือน ธ.ค. หดตัว -0.1% (Exp. 0.1%) ส่วน Core PPI รายเดือนน้อยกว่าคาดที่ 0% (Exp. 0.2%) ภาพรวมตัวเลขเงินเฟ้อที่ยังตึงตัว หลักๆคือเงินเฟ้อภาคบริการ ซึ่งการที่ตลาดการจ้างงานสหรัฐยังมีแนวโน้มแข็งแกร่งคาดว่าเงินเฟ้อจะยังตึงตัวไปอีกซักระยะ (-) 
  • Hard Data เศรษฐกิจสำคัญยุโรปอย่างยอดค้าปลีกเดือน พ.ย. หดตัวน้อยกว่าคาดที่ -1.1% (Exp. -1.5%) ด้านอัตราการว่างงานเดือน พ.ย. ออกมาน้อยกว่าคาดที่ 6.4% (Exp. 6.5%) ส่วน Soft Data กลุ่มดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจทั้งด้านเศรษฐกิจ, ผู้บริโภค, ภาคธุรกิจ, ภาคบริการ และนักลงทุนในเดือน ธ.ค. ออกมาดีขึ้นจากเดือนก่อน XSpring AM เห็นสัญญาณทางเศรษฐกิจยุโรปที่ดีขึ้นจากทั้ง Hard Data และ Soft Data และมองเห็นเศรษฐกิจยุโรปจะผ่านช่วงชะลอตัวใน H1 24 ไปได้ด้วยดี (+) 
  • เงินเฟ้อญี่ปุ่น CPI เทียบรายปีเดือน ธ.ค. ปรับตัวลงมาที่ 2.4% (พ.ย. 2.6%) โดยเงินเฟ้อไม่รวมอาหารและพลังงานชะลอตัวลงมาที่ 3.5% (พ.ย. 3.6%) ด้านเงินเฟ้อค่าจ้างแรงงานญี่ปุ่นในเดือน พ.ย. เทียบรายปีออกมาน้อยกว่าคาดมากที่ 0.2% (Exp. 1.5%) ทำให้ BOJ อาจไม่ได้มีความจำเป็นต้องรีบปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจากระดับติดลบเป็นบวกมากเท่าที่นักลงทุนกังวลช่วง Q4 2023 (+) ในทางตรงกันข้ามทำให้ระยะสั้นญี่ปุ่นดูกลับมาน่าสนใจมากขึ้น (+) จากนโยบายการเงินที่น่าจะผ่อนคลายอย่างมากต่อเนื่อง, ลักษณะความ Defensive ของหุ้นญี่ปุ่น รวมถึงแนวโน้มค่าเงินเยนที่น่าจะแข็งค่าขึ้นในระยะกลางดึงดูด Fund-Inflow เข้าสินทรัพย์ลงทุนในญี่ปุ่น (+) 
  • เงินเฟ้อ CPI ของจีนเทียบรายเดือนในเดือน ธ.ค. ออกมาต่ำคาดที่ 0.1% (Exp. 0.2%) ด้าน CPI เทียบรายปีหดตัวน้อยกว่าคาดที่ -0.3% (Exp. -0.4) เงินเฟ้อผู้ผลิต PPI เทียบรายปีหดตัวกว่าคาดที่ -2.7% (Exp. -2.6%) โดยจีนยังเป็นประเทศที่เงินเฟ้อต่ำคาดต่อเนื่อง ด้านยอดส่งออกจีนเทียบรายปีในเดือน ธ.ค. มากกว่าคาดที่ 2.3% (Exp. 1.7%) ในขณะที่ปริมาณเงินในระบบ (M2 Money Supply) เทียบรายปีในเดือน ธ.ค. น้อยกว่าคาดที่ 9.7% (Exp. 10.1%) ด้านยอดสินเชื่อใหม่เดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดที่ 1.17 ล้านล้านหยวน (Exp. 1.4) ภาพรวมเศรษฐกิจจีนยังชะลอตัวลงในทุกภาคส่วนในช่วงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและจัดการปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคส่วนที่เกี่ยวเนื่อง นักลงทุนต้องสามารถลงทุนจีนได้ในระยะยาว 3-5 ปีขึ้นไปจากนี้ (+)
  • คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คงคาดการณ์ GDP ไทยปี 2024 ที่อัตราการเติบโต 2.8-3.3% ไม่รวมผลจากมาตรการกระตุ้นดิจิทัลวอลเล็ต พร้อมปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อลงเหลือ 1.2% (เดิม 2.2%) กกร. ต้องการมาตรการสนับสนุนสินเชื่อในการทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการที่มีความเสี่ยงสูงและ SMEs โดยต้องการให้มีความยืดหยุ่นในการเข้าถึงสินเชื่อและเอาหนี้นอกระบบทางการค้าเข้ามาอยู่ในระบบอย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยลดภาระดอกเบี้ยที่เป็นต้นทุนที่สูงได้ ด้านรมช.คลัง เป็นห่วงสถานการณ์เศรษฐกิจ มองเงินเฟ้อติดลบ มีโอกาสไปในทิศทางที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวได้ แต่กลไกของรัฐก็มีหน้าที่ที่จะกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ต้องเร่งผลักดันรายจ่ายประจำปี รวมถึงใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเศรษฐกิจ 

กลยุทธ์การลงทุน

  • Slightly Overweight Global Energy 
  • Slightly Overweight Global Property (Interest Rates Sensitive Theme) 
  • Slightly Overweight German & EU Alpha Stock (Laggards & Low Valuation Play) 
  • Slightly Overweight Vietnam Alpha Fund
  • Slightly Overweight India & South Korea Stock
  • Slightly Overweight Japan Value Stock
  • Slightly Overweight Laggards Thematic ETF เช่น ARKG ETF
  • Slightly Overweight หุ้นสหรัฐ Small-Cap Blended มีโอกาสฟื้นตัว
  • Slightly Overweight หุ้นไทย Mid-Small Cap Stock มีโอกาสสำหรับกองทุนที่เลือกหุ้น Super Stock มองกองไทย Healthcare มองว่ายังเป็นภาคส่วนที่เป็น Growth Engine สำคัญของไทย

คำแนะนำ

  • KT-ENERGY กองทุนหุ้นพลังงาน
  • KKP-GINFRAEQ-H กองทุนหุ้นโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก และ K-GPROP-A(A) กองทุนอสังหาทั่วโลก
  • K-EUROPE กองทุนหุ้นยุโรป, SCBEUSM หุ้นขนาดกลางเล็กยุโรป, TMBGER หุ้นเยอรมัน
  • PRINCIPAL-VNEQ
  • KT-INDIA, SCBKEQTG อินเดีย & เกาหลีใต้
  • ASP-NGF, TMBJPNAE หุ้นญี่ปุ่น
  • SCBUSSM, ABAGS หุ้นขนาดกลางเล็กสหรัฐ Blended Character
  • TMB-ES-GENOME ตอน ARKG ETF <31$
  • SCBPGF หุ้นโลก Value, UGD หุ้นกลางเล็ก Durable
  • ASP-SME, ABSM, ASP-T12, M-MIDSMALL, TLMSEQ เป็นกองหุ้นไทย Alpha , ONE-HOSPITAL

XSpring AM

Source: Bloomberg, Reuter

ดาวห์โหลด