XAM Weekly / 18-22 Dec 2023




แนวโน้มใหญ่รายสัปดาห์

  • คาดทั้งสัปดาห์หุ้นสหรัฐที่ยัง Laggards จะบวกต่ออ่อนๆ (+) คาดญี่ปุ่นและจีนจะยัง Underperformed (-)

แนวโน้มสัปดาห์นี้

  • มองช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของปี 2023 ตลาดน่าจะบวกต่อ โดยเฉพาะ US Laggards ทั้ง Small-Cap และ Property & Infra Stock (+,+)  มองว่าปัจจัยเสี่ยงการเมืองภายในสหรัฐและความขัดแย้งภายนอกทั้ง รัสเซีย-ยูเครน, ตะวันออกกลาง และ US-China Techwar จะยังไม่รุนแรงขึ้นในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2023 )
  • เป็นช่วงเวลาปรับสมดุลพอร์ตการลงทุน โดยอาจลดสัดส่วนการลงทุนที่ปรับตัวขึ้นมาเร็วแรงในระยะสั้นและสะสมเงินสดไว้มากขึ้นเพื่อตั้งรับการปรับฐานในอนาคตหากมี หรือการ Sector Rotation ใน Q1 2024 ) 

Weekly Focus

  • วันอังคารที่แล้วมีการเปิดตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญอย่างเงินเฟ้อ CPI สหรัฐซึ่งออกมาตามคาดทุกชุดตัวเลขโดย Core CPI ขยายตัวที่ 0.3% เทียบรายเดือนในเดือน พ.ย. ส่วน CPI ขยายตัวที่ 0.1% ด้านเงินเฟ้อฝั่งต้นทุน Core PPI ที่ประกาศในคืนวันพุธออกมาต่ำกว่าคาดในเดือน พ.ย. เทียบรายเดือนที่ 0% (Exp. 0.2%) ส่วน PPI ก็คงตัวที่ 0% (Exp. 0.1%) ทุกชุดตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาตามคาดและต่ำคาดประกอบกับการที่เฟด Positive Surprise ด้วยการประกาศว่าจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยต่อ พร้อมทั้งคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายปี 2024 ที่ 4.6% , ปี 2025 ที่ 3.6% และปี 2026 ที่ 2.9% รวมถึง Long-Term Interest Rate ที่ 2.5% (+,+) ตลาดตอบรับเชิงบวกแรง โดยเฉพาะกลุ่มหุ้นขนาดกลางเล็ก Russell 2000 ซึ่งผลตอบแทน Laggards Magnificent-7 มานาน (+,+) 
  • การขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐรายสัปดาห์ (8 ธ.ค.) ออกมาน้อยกว่าคาดที่ 202,000 ตำแหน่ง (Exp. 220,000) ด้านยอดค้าปลีกสหรัฐเทียบรายเดือนในเดือน พ.ย. ออกมามากกว่าคาดที่ 0.3% (Exp. -0.1%) ส่วนดัชนีสินค้าคงเหลือเทียบรายเดือน เดือน ต.ค. หดตัวกว่าคาดที่ -0.1% (Exp. 0%) ภาพรวมตลาดงานสหรัฐยังแข็งแรงแต่เห็นทิศทางการชะลอตัวลง ส่วนดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์กเดือน ธ.ค. หดตัวกว่าคาดที่ -14.5 (Exp. 2) ด้านดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. ขยายตัวต่ำคาดที่ 0.2 (Exp. 0.3) รวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต S&P หดตัวกว่าคาดที่ 48.2 (Exp. 49.3) ในเดือน ธ.ค. ในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ S&P ขยายตัวมากกว่าคาดที่ 51.3 (Exp. 50.6) โดยรวมเห็นสัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐที่ผสมผสานมากขึ้น (Mix Signal) คือมีทั้งชุดตัวเลขที่สะท้อนเศรษฐกิจชะลอตัว ธุรกิจขนาดกลางชะลอตัว แต่ก็ยังมีหลายชุดตัวเลขที่ยังสะท้อนความแข็งแกร่งเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน (-,+) ทำให้เฟดอาจไม่ต้อง Hawkish มากเกินไปจนเสี่ยงพาเศรษฐกิจเข้าสู่ Hard-Recession ในทางตรงกันข้ามเฟดอาจจะยอมเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะคงและทรงหรืออาจวกกลับมาเล็กน้อยในอนาคตแต่รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและลดโอกาส Hard-Recession ในอนาคตให้ลดน้อยลงมากกว่า ซึ่งสถานการณ์นี้เลย Positive กับตลาดมาก (+,+)
  • ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยุโรป ZEW Survey เดือน ธ.ค. ออกมาดีกว่าคาดที่ 23 (Exp. 12) ส่วน ZEW Survey เยอรมันดีกว่าคาดเช่นกันที่ 12.8 (Exp. 8. ในขณะที่ตัวเลขดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. เทียบรายเดือนต่ำคาดที่ -0.7% (Exp. -0.3%) ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต HCOB เดือน ธ.ค. หดตัวกว่าคาดที่ 44.2 (Exp. 44.6) ส่วนภาคบริการหดตัวกว่าคาดที่ 48.1 (Exp. 49.0) ภาพรวมเศรษฐกิจยุโรปกำลังอยู่ใน Bottoming-Out Process ด้าน ECB คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ 4.5% โดยตลาดคาดว่า ECB อาจจะเริ่มลดดอกเบี้ยก่อน Fed และคาดว่ามีโอกาสลดดอกเบี้ยปีหน้าถึง -1.5% หุ้นยุโรปจึงตอบรับเชิงบวกแรงโดยเฉพาะหุ้นเยอรมันที่ขึ้นแตะระดับสูงสุด (+) รองลงมาคือหุ้นเติบโตสูงยุโรป หุ้นใหญ่ยุโรป และยังเหลือ EU Small-Cap ที่ยัง Laggards และคาดว่าจะขึ้นต่อได้ในช่วงปลายปี 2023 ไปถึง Q1 2024 (+) 
  • เงินเฟ้อฝั่งต้นทุน PPI ญี่ปุ่นเดือน พ.ย. เทียบรายปีออกมามากกว่าคาดที่ 0.3% (Exp. 0.1%) ด้านดัชนี Tankan ธุรกิจขนาดใหญ่ Q4 23 ออกมาดีกว่าคาดที่ 13.5 (Exp. 12.4) คำสั่งซื้อเครื่องจักรเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในเดือน ต.ค. เทียบรายเดือนที่ 0.7% (Exp. -0.5%) รวมถึงดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นกว่าคาดในเดือน ต.ค. ที่ 1.3% (Exp. 1%) ภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่นดูดีกว่ายุโรป และแรงกดดันเงินเฟ้อก็ไม่ได้มากเกินไป มองว่าการที่ BOJ จะปรับขึ้นดอกเบี้ยจากระดับที่ไม่ปกติในโซนติดลบขึ้นมาเป็นบวกถือเป็นการปรับสมดุลให้เศรษฐกิจไม่ได้เป็นแรงกดดันให้ตลาดกลับทิศเป็นขาลง ) แต่อย่างไรก็ตามการปรับท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินดังกล่าวคาดจะทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐและจะกดดันความน่าสนใจของหุ้นในระยะสั้น ) มองว่าหุ้นญี่ปุ่นจะแกว่งตัว Sideway ในช่วงปลายปี 2023 จนถึง Q1 2024 ) 
  • หุ้นจีน H-Shares ฟื้นตัวแรงเพราะเป็นหุ้นที่ถูกเทขายมาค่อนข้างแรง โดยที่มีการฟื้นตัวจากแรงซื้อเก็งกำไรต่างชาติ ซึ่งข้อดีช่วยสนับสนุนให้ไม่หลุดระดับสำคัญทางจิตวิทยาในระยะยาว แต่มองเป็น Hot Money ยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าหุ้นจีนจะกลับทิศจากปัจจัยสนับสนุนทางเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน และความน่าสนใจโดยเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นประเทศอื่นที่ยังไม่มากพอ (-) 
  • หุ้นไทยฟื้นตัวแรงสองวันทำการหลังเฟดประกาศข่าวดี (+) แต่คาดว่าการปรับขึ้นจะเป็นการขึ้นจาก Fund-Flow ต้องจับตาว่าตลาดจะสามารถยืนที่ 1,400 จุดขึ้นไปได้ในช่วงวันทำการที่เหลือของปี 2023 หรือไม่ ถ้าสามารถยืนได้มองว่าจะทำให้โมเมนตัมหุ้นไทยดีขึ้นก่อนก้าวเข้าสู่ปี 2024 ส่วนระยะสั้นหุ้นขนาดใหญ่อาจขึ้นได้แรงกว่า แต่ในระยะกลางมองหุ้นที่กำไรโตโดดเด่นกว่าดัชนีจะ Outperformed โดยเฉพาะหลังประกาศงบ Q4 2023 และ Q1 2024 มองว่ากลุ่มกองทุน Alpha Fund ยังถือลงทุนได้ (+) 

กลยุทธ์การลงทุน

  • Slightly Overweight Global Property (Interest Rates Sensitive Theme) 
  • Slightly Overweight German & EU Alpha Stock (Laggards & Low Valuation Play) 
  • Slightly Overweight India & South Korea Stock
  • Slightly Overweight Japan Value Stock
  • Slightly Overweight หุ้นสหรัฐ Small-Cap Growth มีโอกาสฟื้นตัว
  • Slightly Overweight หุ้น Semiconductor ทยอยสะสมลงทุน
  • Slightly Overweight หุ้น Large-Cap Growth สหรัฐ (Ex Tesla, NVIDIA) รอ Buy-On-Dip
  • Slightly Overweight หุ้นไทย Mid-Small Cap Stock มีโอกาสสำหรับกองทุนที่เลือกหุ้น Super Stock มองกองไทย Healthcare มองว่ายังเป็นภาคส่วนที่เป็น Growth Engine สำคัญของไทย

คำแนะนำ

  •  KKP-GINFRAEQ-H กองทุนหุ้นโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก และ K-GPROP-A(A) กองทุนอสังหาทั่วโลก
  • K-EUROPE กองทุนหุ้นยุโรป, SCBEUSM หุ้นขนาดกลางเล็กยุโรป, TMBGER หุ้นเยอรมัน
  • TMBINDAE, SCBKEQTG อินเดีย & เกาหลีใต้
  • ASP-NGF, TMBJPNAE หุ้นญี่ปุ่น
  • SCBPGF หุ้นโลก Value, UGD หุ้นกลางเล็ก Durable
  • K-GHEALTH หุ้น Healthcare, ONE-HOSPITAL หุ้นไทยและหุ้นโลก Healthcare
  • ASP-SME, ABSM, ASP-T12, M-MIDSMALL, TLMSEQ เป็นกองหุ้นไทย Alpha 
  • ABAGS หุ้นขนาดกลางเล็กสหรัฐ Blended Character
  • TMB-ES-GCG, K-GTECH
  • SCBUSAA รับ 4.8 บาท, KF-US รับ 12.2 บาท, SCBROBOA รับ 14.8 บาท
  • เก็งกำไร M-META ที่ราคา METV ETF <10.5$ , TMB-ES-GINNO ที่ราคา ARKK ETF <45$ และ LHSEMI ที่ราคา SOXX ETF <510$

XSpring AM

Source: Bloomberg, Reuter

ดาวน์โหลดไฟล์