XAM Weekly / 27 Nov - 1 Dec 2023




แนวโน้มใหญ่รายสัปดาห์

  • คาดทั้งสัปดาห์หุ้นสหรัฐที่ยัง Laggards จะบวกต่อ (Healthtech ยังไปได้ หาก US 10Y Yield ยังอยู่กรอบ 4.4%) 

แนวโน้มสัปดาห์นี้

  • มีประกาศ GDP Q3 สหรัฐคาดออกมาใกล้เคียงกับคาดการณ์ โดยยังมองว่า VIX Index จะซื้อขายที่ <14.5% รวมถึงคาดว่า US 10Y Yield <4.5%  มองว่าหุ้นที่ถูกขายเยอะเกินไปในช่วงก่อนหน้านี้โดยเฉพาะหุ้นขนาดกลางจะมี Short-Term Upside ที่ดีกว่า (+) 
  • คาดแบงค์ชาติไทยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ในวันพุธ) สัปดาห์นี้มีเปิดเผยองค์ประกอบ GDP ไทยที่รายงานไปเมื่อสัปดาห์ก่อน คาดหุ้นไทยยัง Laggards ต่อเนื่องจนกว่าจะมี Key Catalyst เชิงบวกสนับสนุนความมั่นใจตลาดทุนไทย ) 
  • สัปดาห์นี้มีรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อจีน มองว่าหุ้นจีนยัง Sideway ) เคลื่อนไหวตามความคาดหวังนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าตัวเลขเศรษฐกิจ ) รวมถึงมีประกาศ PMI เวียดนาม คาดเศรษฐกิจอยู่ในทิศทางชะลอตัวอ่อนๆ (-) 

Weekly Focus

  • ยีลด์พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (US 10Y Yield) ที่อ่อนตัวลงอย่างมากในสี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นฟันเฟืองหลักที่ขับเคลื่อนให้ตลาดเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) ซึ่งปัจจัยที่จะสนับสนุนให้ตลาดปรับขึ้นได้ต่อเนื่องจะเกิดจากการที่เศรษฐกิจเริ่มต่ำคาด (Negative Surprise) แต่ตัวเลขเศรษฐกิจต้องไม่ได้แย่ลงเร็วแรงจนเกินไป จนคนไปกังวลความเสี่ยงใหม่คือความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัวลงแรง (-) บนเงื่อนไขความเสี่ยงทางการเมืองโลกที่ไม่ได้คุกกรุ่นมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ) โดยเฟดยังสื่อสารเปิดกว้างว่ายังขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มอีกได้หากเงินเฟ้อยังสูงในรายงาน FOMC Minutes ซึ่งเป็นท่าทีที่เฟดยืนตลอด ไม่ได้เซอร์ไพรส์ตลาด ) นักลงทุนในตลาดล่าสุดมองปี 2024 เฟดมีโอกาสลดดอกเบี้ยรวม -0.75% หากนักลงทุนมองโอกาสลดดอกเบี้ยปีหน้าลดลงหรือช้าลงมีโอกาสกดดัน US 10Y Yield กลับไปที่ 4.6-4.7% (-) ซึ่งอาจกดดันแรงเทขายเล็กน้อย (-) แต่มองว่าสำหรับ US Small-Caps Stock บนเงื่อนไขเศรษฐกิจ, นโยบายการเงินในปัจจุบัน Downside ยังจำกัดที่ราวไม่เกิน -5% สำหรับ Russell 2000 Growth ) ด้านตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ประกาศในสัปดาห์ที่ผ่านมา รายงานยอดขายบ้านมือสองชะลอลงจากเดือนก่อน (+) ด้านคำสั่งซื้อสินค้าคงทนต่ำคาด (+) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคผลิต S&P Global น้อยกว่าคาดที่ 49.4 (Exp. 49. (+) ความคาดหวังเงินเฟ้อ 5 ปีข้างหน้าตามคาดที่ 3.2% (+) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ S&P Global มากกว่าคาดที่ 50.8 (Exp. 50.4) (-) ส่วนความเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.มิชิแกนดีกว่าคาดเล็กน้อยที่ 61.3 (Exp. 60.5) (-) รวมถึงการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกออกมาต่ำคาดสัปดาห์ที่ผ่านมาแต่ตลาดไม่ได้ตอบรับเชิงลบจากค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ที่สะท้อนตลาดงานยังอ่อนตัวลง (+) ภาพรวมตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐยังสนับสนุนโมเมนตัมการฟื้นตัวของหุ้นสหรัฐ (+) โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มที่ Laggards อย่างหุ้นกลุ่มอสังหา, กลุ่มวัสดุ รวมถึง Small-Cap Healthcare อย่าง ARKG ETF ซึ่งหากเปอร์เซ็นต์หุ้นที่ยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันมีมากขึ้น ราคาดัชนีหุ้นสหรัฐก็จะยิ่งแข็งแรงมากยิ่งขึ้น (+)  
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยุโรปออกมาแย่น้อยกว่าคาดที่ -16.9 (Exp. -17.6) ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ HCOB หดตัวน้อยกว่าคาดที่ 48.2 (Exp. 48.1) ส่วนดัชนีภาคการผลิตหดตัวน้อยกว่าคาดที่ 43.8 (Exp. 43.4) ภาพรวมเศรษฐกิจยุโรปแย่น้อยกว่าคาดแม้ Bloomberg Economist Consensus ยังมองโอกาสเศรษฐกิจถดถอยถึง 2 ใน 3 ภายใน 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งหากเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่เฟสถดถอยแต่เป็นการถดถอยอ่อนๆ มองว่าหุ้นยุโรปจะมีโอกาส Bottoming-Out ในระยะถัดไปหลัง Laggards มานาน (+) 
  • CPI ญี่ปุ่นเดือน ต.ค. เทียบรายปีขยายตัวมาที่ 3.3% (ก.ย. 3%) ส่วน Core CPI อยู่ที่ 4% (ก.ย. 4.2%) ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต Jibun Bank หดตัวกว่าคาดที่ 48.1 (Exp. 48. ส่วนภาคบริการขยายตัวมาที่ 51.7 (ต.ค. 51.6) ด้านดัชนีชี้นำเศรษฐกิจญี่ปุ่นเดือน ก.ย. ออกมาดีกว่าคาดที่ 108.9 (Exp. 108.7) มองว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีการฟื้นตัวที่ยังไม่เท่าเทียมกันในแต่ละภาคส่วน ภาคบริการฟื้นตัวแข็งแกร่งจากภาคการท่องเที่ยว (+) การลงทุนทางตรงใน Semiconductor ยังมีต่อเนื่อง (+) การลงทุนทางตรงในอสังหาญี่ปุ่นจากต่างชาติยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (+) คาดการณ์ว่านโยบายการเงินญี่ปุ่นจะยังผ่อนคลายต่อไปอีกระยะ (+) เพราะบริบทเศรษฐกิจญี่ปุ่นแบงค์ชาติต้องการให้ฟื้นตัวจากเงินฝืดอย่างถาวร โดยต้องการให้การบริโภคภาคเอกชนดีขึ้น การลงทุนของบริษัทเอกชนมีมากขึ้น XSpring AM มองว่ายังมีลมหนุนต่อหุ้นญี่ปุ่นทั้งในระยะกลางและระยะยาว (New Secular Trend) (+) 
  • แบงค์ชาติจีนคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.45% ) มีข่าวบวกความคาดหวังว่าทางการจีนกำลังจัดทำรายชื่อบริษัทผู้พัฒนาอสังหาจีน (Developer) ที่จะได้รับความช่วยเหลือกระแสเงินสดจากธนาคารพาณิชย์จีน ซึ่งทำให้ดัชนีหุ้นกลุ่มอสังหาจีนดีดตัวขึ้นมาแรงจากความคาดหวังดังกล่าว (+) XSpring AM มองว่าการฟื้นตัวของภาคอสังหาจีนต้องใช้เวลาปรับสมดุลลด Supply (-) และเพิ่ม Demand (+) ในระยะยาว และจะทำให้เศรษฐกิจจีนมีเสถียรภาพในระยะยาว (+) 
  • GDP ไทยไตรมาส 3 เทียบรายปีออกมาต่ำคาดที่ 1.5% (Exp. 2.4%) ด้านผู้ว่าแบงค์ชาติไทยแสดงความคิดเห็นว่าเศรษฐกิจไทยต้องมีความทนทานและความยืดหยุ่น โดยต้องสร้างความเข้มแข็งทั้งฐานะการเงินเอกชน ครัวเรือนและภาครัฐ การมี Policy space ทั้งทางด้านการเงินและการคลัง ที่สำคัญต้องสร้างการเติบโตแบบใหม่ 

กลยุทธ์การลงทุน

  • Overweight หุ้น Large-Cap Growth สหรัฐ (Ex Tesla, NVIDIA) มีโอกาสสะสมลงทุนในระยะสั้นหลังราคาปรับตัวลงมาในช่วงก่อนหน้านี้
  • Overweight หุ้นไทย Mid-Small Cap Stock มีโอกาสสำหรับกองทุนที่เลือกหุ้น Super Stock คาดโมเมนตั้มกำไร Q3 2023 ยังน่าจะดี และคาดธุรกิจที่เกี่ยวกับภาคบริการยังเติบโตดี นอกจากนี้ยังชองกองไทย Healthcare มองว่ายังเป็นภาคส่วนที่เป็น Growth Engine สำคัญของไทย
  • Overweight Japan Value Stock
  • Slightly Overweight หุ้นสหรัฐ Small-Cap Growth มีโอกาสฟื้นตัว
  • Slightly Overweight หุ้น Semiconductor ทยอยสะสมลงทุน

คำแนะนำ

  • ASP-NGF, TMBJPNAE หุ้นญี่ปุ่น
  • TMBINDAE, SCBKEQTG อินเดีย & เกาหลีใต้
  • SCBPGF หุ้นโลก Value, UGD หุ้นกลางเล็ก Durable
  • K-GHEALTH หุ้น Healthcare, ONE-HOSPITAL หุ้นไทยและหุ้นโลก Healthcare
  • ABAGS หุ้นขนาดกลางเล็กสหรัฐ Blended Character
  • ASP-SME, ABSM, ASP-T12, M-MIDSMALL, TLMSEQ เป็นกองหุ้นไทย Alpha 
  • TMB-ES-GCG, K-GTECH
  • SCBUSAA รับ 4.5 บาท, KF-US รับ 11.1 บาท, SCBROBOA รับ 13.4 บาท
  • เก็งกำไร M-META ที่ราคา METV ETF <10.3$ , TMB-ES-GINNO ที่ราคา ARKK ETF <40$ และ LHSEMI ที่ราคา SOXX ETF <490$

XSpring AM

Source: Bloomberg, Reuter

ดาวน์โหลดไฟล์