XAM Weekly / 2-6 Oct 2023


แนวโน้มใหญ่รายสัปดาห์

  • คาดตลาดที่ปรับตัวลงไปแรงมีโอกาส Rebound (+)

แนวโน้มสัปดาห์นี้

  • คาดหุ้นเติบโต (Growth Stock) สหรัฐ มีโอกาสฟื้นตัวหลังราคาปรับตัวลงมามากในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา จากการรับรู้ปัจจัยลบหลัง Fed Dot-Plot ออกมาสูงกว่าข้อมูลครั้งก่อนมาก ทำให้ตลาดรับรู้ปัจจัย Higer-For-Longer เข้าไปในราคาหุ้นเติบโตค่อนข้างมากแล้ว รวมถึง Catalyst เชิงลบเรื่อง Government Shut-down ผ่านพ้นไปแล้ว (+) 
  • มีประกาศตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน ADP สหรัฐสัปดาห์นี้ คาดตลาดจะไม่ตอบรับเชิงลบอย่างมีนัยยะสำคัญ

Weekly Focus

  • ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจญี่ปุ่นออกมาดีกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 108.2 (Latest 107.6) (+)
  • แบงค์ชาติไทยขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ไปที่เรต 2.5% (Exp. 2.25%) ดีกับหุ้นกลุ่มแบงค์ กับช่วยลดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย-สหรัฐ แต่กระทบกลุ่มผู้กู้หนี้ที่อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (-) 
  • คำสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐออกมาสูงกว่าคาดในทุกรายการ สะท้อนภาคเศรษฐกิจสหรัฐยังแข็งแกร่ง (+)
  • ดัชนีชี้วัดเซ็นติเมนต์เศรษฐกิจยุโรปออกมาที่ 93.3 (Exp. 92.5) (+)
  • ดัชนีเงินเฟ้อพื้นฐานเยอรมันเทียบรายเดือนออกมาที่ 0.2% (Exp. 0.3%) ลดแรงกดดันเงินเฟ้อลง (+)
  • GDP Q2 2023 สหรัฐออกมาที่ 2.1% ตามคาดการณ์ สะท้อนเศรษฐกิจสหรัฐยังแข็งแรง และไม่ได้เพิ่มแรงกดดันว่าเศรษฐกิจจะร้อนแรงเกินไป (+) 
  • การขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐแม้ออกมาน้อยกว่าคาด แต่เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน ลดแรงกดดันว่าตลาดแรงงานสหรัฐร้อนแรงเกินไปลงได้บางส่วน
  • ยอดขายบ้านในสหรัฐเทียบรายเดือนในเดือน ส.ค. หดตัว -7.1% (Exp. -0.8%) สะท้อนผลของการขึ้นดอกเบี้ยทำให้ความสามารถในการกู้ซื้อบ้านลดลงมากกว่าคาด (-)
  • ดัชนีเงินเฟ้อญี่ปุ่นออกมาต่ำคาดเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในทิศทางที่มีเงินเฟ้อ ซึ่งดีกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระยะกลางยาว เทียบกับสิ่งที่ญี่ปุ่นเผชิญมาหลายสิบปี (+)
  • ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นและยอดค้าปลีกญี่ปุ่นขยายตัวดีกว่าคาด มีเพียงอัตราการว่างงานที่สูงกว่าคาดเล็กน้อย (+)
  • GDP อังกฤษและยอดการลงทุนในธุรกิจอังกฤษออกมาดีกว่าคาด (+)
  • ยอดค้าปลีกเยอรมันเทียบรายเดือนออกมาหดตัวที่ -1.2% ในเดือน ส.ค. (Exp. 0.5%) สะท้อนภาคบริการซึ่งเคยเป็นฟันเฟืองสนับสนุนเศรษฐกิจยุโรปตะวันตกก็เริ่มชะลอตัวลงเช่นเดียวกันกับภาคส่วนอื่นๆ (-)
  • เศรษฐกิจไทยภาคการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในเดือน ส.ค. ออกมาต่ำกว่าคาด สะท้อนภาคประชาชนและภาคธุรกิจยังต้องการการกระตุ้นความเชื่อมั่นเพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตในระยะกลางได้ (-)
  • ดัชนีเงินเฟ้อพื้นฐานในยุโรปเทียบรายเดือนและรายปีออกมาต่ำกว่าคาดในเดือน ก.ย. สะท้อนแรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลง (+)
  • ผลผลิตภาคโครงสร้างพื้นฐานในอินเดียเทียบรายปีในเดือน ส.ค. ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนการรองรับการลงทุนที่เพิ่มต่อเนื่องในอินเดีย (+)
  •  เงินเฟ้อ Core PCE สหรัฐเทียบรายเดือน ในเดือน ส.ค. ออกมาที่ 0.1% (Exp. 0.2%) ลดแรงกดดันเงินเฟ้อลงมาก (++)
  • ตัวเลขยอดคำสั่งซื้อของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ Chicago Purchasing Manager หดตัวมาที่ 44.1 (Exp. 47.6) สะท้อนบางภาคเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มเห็นแนวโน้มการหดตัวมากกว่าคาด (-)
  • ด้านดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจสหรัฐ ม.มิชิแกนออกมามากกว่าคาดที่ 68.1 (Exp. 67.7) สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจยังสูงกว่าคาด (+)
  • ความคาดหวังเงินเฟ้อ 5 ปีข้างหน้า ในเดือน ก.ย. อยู่ที่ 2.8% (Exp. 2.7%) สะท้อนความคาดหวังเงินเฟ้อสูงขึ้นในระยะยาว (-)
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตจีนโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนขยายตัวมากกว่าคาดที่ 50.2 (Exp. 50) ในเดือน ส.ค. (ก.ค. 49.7) ด้านภาคบริการขยายตัวมากกว่าคาดที่ 51.7 (Exp. 51.5) ในขณะที่ตัวเลขผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อไคซินภาคการผลิตขยายตัวน้อยกว่าคาดที่ 50.6 (Exp. 51.2) (ก.ค. 51.0) ภาคบริการขยายตัวที่ 50.2 (ก.ค. 51.😎 ภาพรวมเศรษฐกิจจีนยังขยายตัวอ่อนแรง แม้จะเริ่มเห็นเศรษฐกิจเริ่มทรงตัวได้ ไม่หดตัว แต่ต้องรอผลของนโยบายช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาต่อตัวเลขเศรษฐกิจจีนในระยะถัดไป
  • ดัชนีทังกันสะท้อนธุรกิจญี่ปุ่นขนาดใหญ่ขยายตัวแข็งแกร่งทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ (+)

กลยุทธ์การลงทุน

  •  Overweight หุ้นไทย Mid-Small Cap Stock มีโอกาสสำหรับกองทุนที่เลือกหุ้น Super Stock ที่มีโอกาสการเติบโตที่ดีในระยะสั้นและระยะกลาง
  • Overweight หุ้นเอเชียมากกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วสำหรับการลงทุนในระยะกลาง ดอลลาร์อ่อนสนับสนุนหุ้น Growth ภูมิภาคตลาดเกิดใหม่ (EM)
  • Overweight หุ้นอินเดียเห็นแนวโน้มราคาปรับตัวขึ้นได้ดี
  • Overweight หุ้นสหรัฐ Small Cap Growth มีโอกาสฟื้นตัว
  • Slightly Overweight หุ้น Semiconductor ทยอยสะสมลงทุน
  • Slightly Overweight หุ้น Large-Cap Growth สหรัฐมีโอกาสสะสมลงทุนในระยะกลาง หลังราคาปรับตัวลงมาในช่วงก่อนหน้านี้

คำแนะนำ

  • KFHASIA, M-EM Asia/EM Tech
  • ASP-NGF, TMBJPNAE หุ้นญี่ปุ่น
  • TMBINDAE, SCBKEQTG อินเดีย & เกาหลีใต้
  • SCBPGF หุ้นโลก Value, UGD หุ้นกลางเล็ก Durable
  •  K-GHEALTH หุ้น Healthcare, ONE-HOSPITAL หุ้นไทยและหุ้นโลก Healthcare
  • ABAGS หุ้นขนาดกลางเล็กสหรัฐ Blended Character
  • ASP-SME, ABSM, ASP-T12, M-MIDSMALL, TLMSEQ เป็นกองหุ้นไทย Alpha 
  • SCBUSAA รับ 4.5 บาท, KF-US รับ 11.1 บาท, SCBROBOA รับ 13.4 บาท
  • เก็งกำไร M-META ที่ราคา METV ETF 9.5-9.6$ , TMB-ES-GINNO ที่ราคา ARKK ETF 38-39$ และ LHSEMI ที่ราคา SOXX ETF 450-470$

XSpring AM

Source: Bloomberg, Reuter

ดาวน์โหลดไฟล์